Page 25 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 25

๒๑





                       ระหวางมนุษยดวยกัน และจากแนวคิดดังกลาวของ Locke นับเปนการปรากฏตัวอยางชัดเจนของ
                       แนวคิดเรื่องสิทธิธรรมชาติและไดพัฒนาเรื่อยมาเปนแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและการคุมครองสิทธิ

                       มนุษยชนในความหมายปจจุบัน

                                                                                                        ๕๗
                                     จากที่ไดกลาวมาขางตนจึงอาจสรุปไดวา สิทธิธรรมชาติหรือสิทธิตามธรรมชาติ
                       หมายถึง สิทธิที่มนุษยแตละคนมีติดตัวมาตามธรรมชาติ เชน สิทธิในชีวิต สิทธิในรางกาย

                       สิทธิดังกลาวนี้มนุษยแตละคนมีอยูโดยไมขึ้นอยูกับรัฐและไมขึ้นอยูกับกฎหมายบานเมือง กลาวคือ

                       เปนสิทธิที่มีอยูกอนมีรัฐนั่นเอง


                       ๑.๒ แนวคิดเกี่ยวกับการคุมครองสิทธิมนุษยชน


                              ๑.๒.๑ รากฐานความคิดเกี่ยวกับการคุมครองสิทธิมนุษยชน

                                       จากแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตามที่กลาวมาขางตน จะเห็นวาแนวคิดเรื่องสิทธิ
                       มนุษยชนไมใชเรื่องใหม แตเปนแนวคิดที่มีมานานแลวตั้งแตสมัยกรีกโรมัน โดยอยูในรูปแบบของสิทธิ

                       ธรรมชาติและพัฒนามาเปนสิทธิมนุษยชนในปจจุบัน และมนุษยไดกลาวอางสิทธิมนุษยชนเพื่อการ

                       ปลดปลอยความเปนอิสรภาพและเรียกรองความเทาเทียมกันของมนุษยจากการถูกกดขี่ขมเหง
                       เอารัดเอาเปรียบ และทารุณกรรมตางๆ ของฝายที่สูงและเหนือกวา โดยเฉพาะในชวงระหวาง

                       สงครามโลกครั้งที่ ๑ จนเริ่มสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถือไดวาเปนยุคหฤโหดสําหรับมนุษยชาติ ประชาชน
                       พลเมืองนับลานๆ คนถูกกดขี่และเขนฆาโดยรัฐบาลของตนเองอยางทารุณ ทั้งนี้ เนื่องจากการเกิดขึ้น

                       ของลัทธิชาตินิยมและลัทธิเหยียดเผาพันธุอื่นๆ (Xenophobia) จึงนําไปสูการปกครองแบบ

                       เผด็จการทหารแบบเบ็ดเสร็จ ไมวาจะเปนรัฐบาลฟาสซิสตในอิตาลี นาซีในเยอรมันและอีกหลายๆ
                              ๕๘
                       ประเทศ  และที่สะเทือนใจมนุษยชาติมากที่สุดคือ การฆาลางเผาพันธุชาวยิวโดยฮิตเลอร
                       ในชวงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จากความโหดรายระหวางมนุษยดวยกันดังกลาวจึงไดมีการเรียกรอง

                       ใหมีการคุมครองสิทธิมนุษยชนขึ้นในระดับภายในประเทศและในระดับระหวางประเทศโดยมีรากฐาน
                       ความคิดในการเรียกรองใหมีการคุมครองสิทธิมนุษยชนมาจากหลักนิติรัฐและหลักสังคม กลาวคือ

















                              ๕๗
                                วรเจตน  ภาคีรัตน, “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม.” http://www.pub-law.net.
                              ๕๘
                                วิชัย  ศรีรัตน, อางแลว เชิงอรรถที่ ๑๗, น. ๒๗.
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30