Page 22 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 22

๒๑

                   เข้มแข็งเพียงใด มีแรงจูงใจที่จะสู้กับสถานการณ์ที่ถูกตีตราเพียงใด เป็นต้น เมเจอร์และโอไบรเอน
                   สรุปว่าทฤษฎีภาวะ “ตัวตนถูกทําลาย” ของเขาสามารถใช้อธิบายทุกกลุ่มประชากรที่ถูกตีตราได้และใช้
                   อธิบายการถูกตีตราทุกประเภทได้ เขาบอกด้วยว่าการเยียวยาที่ถูกต้องจะสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ถูกตีตรา
                   ให้ลุกขึ้นมาสู้กับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งจะทําให้ผู้ถูกตีตรามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
                   สุขภาพดีขึ้น และสามารถประกอบกิจกรรมในชีวิตประจําวันได้ตามปกติมากขึ้น ยิ่งหากพบว่าการร้อง
                   ขอความเป็นธรรมจากการถูกคุกคามทางเพศประสบความสําเร็จและมีการลงโทษผู้กระทําผิดอย่าง
                   ยุติธรรม ความรู้สึกมั่นใจว่าชีวิตของตนเองจะมีความปลอดภัยมากขึ้นก็จะยิ่งทําให้ผู้ตกเป็นเหยื่อการ
                   คุกคามทางเพศและการถูกตีตรากลับสู่ภาวะปกติดียิ่งขึ้น ซึ่งก็มีผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการ
                   ตีความความผิดตามกฎหมายอาญาและบทลงโทษตามความผิดเอาไว้  (Whitman  2005)  วิธแมนยัง
                   ศึกษารูปแบบต่างๆที่ใช้ในการอธิบายบทลงโทษสถานหนักแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดี และได้ศึกษาระดับ
                   ความรุนแรงของการกระทําความรุนแรงในหลากหลายวัฒนธรรม ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ
                   กระทํารุนแรงนั้นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
                   ๒.๔ กระบวนการประชาสังคม
                          ผู้เข้าร่วมกระบวนการประชาสังคมเป็นผู้ซึ่งจะตั้งคําถามกับกฎระเบียบบ้านเมืองที่สร้างให้เกิด
                   ความเหลื่อมลํ้า กฎหมายที่ไม่มีความยุติธรรม รวมถึงอํานาจรัฐที่เลือกปฏิบัติ นักวิชาการกฎหมายชื่อ
                   ซิลบี (Silbey 2005) ก็ได้ตั้งคําถามว่าเหตุใดเราจึงต้องเคารพกฎหมายกันเสียเหลือเกินทั้งๆที่กฎหมาย
                   ได้แต่พรํ่าบอกว่าจะให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคน แต่ในความเป็นจริงกฎหมายกลับกลายเป็นสิ่งที่ทําให้
                   เกิดความไม่เป็นธรรมอย่างเป็นระบบเสียมากกว่า
                          พื้นฐานกระบวนการประชาสังคมมักเกิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันของคนในสังคมกลุ่มหนึ่งที่
                   พยายามจะต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมที่กลุ่มของตนเองได้รับ ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะผ่านประสบการณ์
                   การร้องขอความเป็นธรรมให้แก่กลุ่มของตนเองมาก่อนจากระบบกฎหมายปกติแล้ว หรือบางครั้งก็เป็น
                   การร้องขอความเป็นธรรมจากสังคมใหญ่ที่ถูกครอบงําโดยกฎหมายและระเบียบสังคมที่เลือกปฏิบัติต่อ
                   พวกเขา เช่น กลุ่มกระบวนการประชาสังคมเพื่อสิทธิของผู้หญิงซึ่งถูกข่มเหงรังแกโดยสังคมใหญ่ที่คิด
                   ว่าผู้หญิงต้องอยู่กับบ้านทํางานบ้านเลี้ยงลูก แต่ปรากฏว่าผลของการร้องขอความเป็นธรรมจากระบบ
                   กฎหมายปกตินั้นไม่เป็นผล หรือการต่อสู้กับระบบคิดของสังคมใหญ่ไม่เป็นผล คนกลุ่มที่ไม่ได้รับความ
                   เป็นธรรมเหล่านี้ยังคงได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง เขาไม่ได้รับความเสมอภาคเฉก
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27