Page 27 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 27

๒๖

                   กรอบความคิดความเชื่อชุดนี้จากรุ่นสู่รุ่นโดยไม่ได้ตระหนักว่าเหล่านี้เป็นระบบคิดและวิธีปฏิบัติที่
                   ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ และมิหนําซํ้ายังเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงอย่างร้ายแรง
                   ด้วยนั้น เป็นวิธีการ ก่อร่างสร้างความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องความเป็นผู้หญิงความเป็นผู้ชายของ
                   คนในสังคมนั่นเอง (Burns et al 2010) ซึ่งการส่งทอดความคิดในทุกสังคมมักจะเริ่มจากการเริ่มสอน
                   ลูกหลานในบ้านในครอบครัว จนออกสู่การสอนในโรงเรียน จนออกสู่การเรียนรู้จากผู้คนและ
                   สิ่งแวดล้อมในสังคมใหญ่ และได้กลายเป็นความคิดเห็นสาธารณะของคนในสังคมที่มีต่อประเด็นความ
                   เสมอภาคระหว่างเพศและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในที่สุด
                          องค์ความรู้ใดๆที่สังคมหนึ่งใช้ในการประกอบสร้างความเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการเลือก
                   ปฏิบัติต่อผู้หญิงและนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงเป็นองค์ความรู้ที่มาจาก
                   การขัดเกลาทางสังคมดังกล่าวข้างต้น ในทางกลับกัน กรอบแนวคิดของความเห็นสาธารณะ นโยบาย
                   สาธารณะที่สร้างขึ้นมา ตลอดจนคําอธิบายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะนั้น ย่อมสะท้อนมุมมองที่สังคม
                   นั้นมีต่อมนุษย์เพศหญิงในสังคมของตน
                          หากจะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องการขึ้นโรงขึ้นศาลเกี่ยวกับคดีทางเพศ ซึ่งผู้หญิงผู้เป็นผู้เสียหาย
                   ส่วนใหญ่รู้สึกหวาดกลัว คับแค้นใจ อับอาย แต่ยังต้องให้การในชั้นศาลตามกฎหมาย การใช้
                   “ความเห็นสาธารณะ” ของผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมในห้องพิจารณาคดีจึงเป็นหัวเรื่องถกเถียงของ
                   นักกฎหมาย นักสังคมศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และนักสิทธิมนุษยชนด้านสตรีมาโดยตลอด
                   การศึกษาของฟอสต์ (Faust et al 2010) ที่มองไปถึงกฎระเบียบของห้องพิจารณาคดี ความหมายของ
                   คําและลักษณะภาษาที่มักใช้ในห้องพิจารณาคดี ผลกระทบของวิธีปฏิบัติในห้องพิจารณาคดีที่มีต่อ
                   พฤติกรรมการให้การ พฤติกรรมการเป็นพยาน และอื่นๆในห้องพิจารณาคดีเป็นการศึกษาที่ทําให้เกิด
                   ความเข้าใจมากขึ้นว่ากฎหมายเกี่ยวพันกับจิตวิทยาอย่างแน่นอน ฟอสต์บอกว่าความเข้าใจในแนวคิด
                   เกี่ยวกับระบบกฎหมายและระบบพฤติกรรมศาสตร์จะทําให้สถานการณ์ความตึงเครียดในห้อง
                   พิจารณาคดีลดลงและสามารถช่วยยุติข้อขัดแย้งที่ทุกฝ่ายมีต่อกันได้ อันที่จริงแล้วข้อมูลเชิงประจักษ์
                   ในการศึกษาเรื่องความสุขความพึงพอใจของมนุษย์ขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดความสุขที่นํามาวิเคราะห์  (Huang
                   2010) ฮวงบอกว่ามุมมองเรื่องความสุขมีหลายแนวคิด หลายมุมมอง  หลายมิติ การศึกษาเรื่อง
                   ความสุขมีนัยยะสําคัญเพราะจะทําให้เราเข้าใจว่าอะไรทําให้ใครมีความสุขบ้าง ซึ่งประเด็นที่ฮวง
                   สามารถวัดความสุขของคนในสังคมได้มีตัวอย่างดังเช่นการอยู่ดีของประเทศชาติ ความเป็นธรรมภาค
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32