Page 26 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 26

๒๕

                   สงวนไว้สําหรับผู้ชาย การร่วมคิดร่วมสู้เพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อมนุษย์เพศหญิงทุกรูปแบบเหล่านั้น
                   ทั้งหมดมีฐานคิดมาจากมุมมองสตรีนิยม
                          ทางด้านวิชาการแนวสตรีนิยมเองก็ไม่น้อยหน้ากระบวนการประชาสังคมด้านผู้หญิง
                   นักวิชาการแนวสตรีนิยมต่างก็ได้พยายามศึกษาวิธีคิดชายเป็นใหญ่ในแต่ละสังคมทั่วโลกเพื่อทําความ
                   เข้าใจเกี่ยวกับความเป็นหญิงความเป็นชายด้วยเช่นกัน แต่ที่สําคัญที่สุดคือเป็นการศึกษาผู้ชายไป
                   เพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งถึงเหตุผลรากเหง้าที่ทําให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างเพศในสังคม โดยเฉพาะ
                   ความไม่เสมอภาคที่ผู้หญิงได้รับ ช่วงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมาการศึกษาเพื่อทําความเข้าใจมนุษย์
                   เพศชายได้พัฒนาจากการศึกษาบทบาทเพศชายมาสู่การทําความเข้าใจว่าผู้ชายเรียนรู้บทบาทความ
                   เป็นชายหลากหลายประเภทอย่างไร  (Schrock  et  al  2009)  งานวิจัยในช่วง ๓ ทศวรรษที่ผ่านมาจะ
                   สนใจศึกษาพฤติกรรมของผู้ชายในฐานะที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบผู้ชาย งานศึกษาหลายชิ้นเก็บข้อมูลจาก
                   หลากหลายสังคมจากทั่วโลก เป็นการศึกษาในประเด็นตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัวของ
                   ผู้ชาย มุมมองต่อการประกอบอาชีพหารายได้ของผู้ชาย มุมมองต่อเรื่องเรื่องต่างๆรอบตัว เป็นต้น
                   การศึกษาเหล่านี้ทําให้เข้าใจความเป็นเพศชายมากขึ้นว่าเหตุใดผู้ชายต้องมีพฤติกรรมดังที่พบเห็น เหตุ
                   ใดพฤติกรรมเหล่านี้ต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม และพฤติกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทาง
                   เพศต่อผู้หญิงและต่อผู้ชายได้อย่างไร
                          แม้ว่าสถานการณ์ที่ผู้หญิงถูกเลือกปฏิบัติในแง่มุมต่างๆจากทุกสังคมทั่วโลกจะเป็นข่าวเชิง
                   ประจักษ์ให้เราได้รับทราบมาโดยตลอด และแม้ว่ากระบวนการประชาสังคมเพื่อยุติความรุนแรงต่อ
                   ผู้หญิงจะได้รับการสนับสนุนทางความคิดและกระบวนการต่อสู้ที่เป็นระบบจากงานวิชาการแนวสตรี
                   นิยมมาตั้งแต่แรกเริ่ม และแม้ว่าความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นไป
                   ในทางสนับสนุนเนื่องจากไม่มีใครต้องการเห็นความไม่เสมอภาคทางเพศและการกระทํารุนแรงต่อสตรี
                   เพศ แต่กระนั้นก็ยังมีความหลากหลายในความคิดเห็นสาธารณะต่อเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เช่น
                   คนหลายกลุ่มในหลายสังคมหลายวัฒนธรรมทั่วโลกไม่คิดว่าผู้หญิงถูกเลือกปฏิบัติ การให้ผู้หญิงอยู่
                   บ้านทํางานบ้านเลี้ยงลูกเป็นเพียงการแบ่งหน้าที่กันอย่างยุติธรรม การไม่ให้ผู้หญิงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
                   และการทํามาหากินนอกบ้านก็เพราะว่าเรื่องเหล่านี้ไม่เหมาะกับผู้หญิง ส่วนประเด็นเรื่องศาสนาและ
                   วัฒนธรรมบางอย่างที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าร่วมก็เพียงเพราะเป็นการปฏิบัติตามธรรมเนียมโบราณ
                   เท่านั้นเอง การจัดระเบียบกรอบแนวคิดและบทบาทเพศหญิงชายดังกล่าวมาแล้ว ตลอดจนการส่งทอด
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31