Page 23 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 23

๒๒

                   เช่นเดียวกับคนกลุ่มอื่นในสังคม เมื่อถึงจุดอิ่มตัวของความเบื่อหน่ายที่มีต่อระบบอํานาจรัฐที่เคย
                   เป็นมา ระบบกฎหมายที่ไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้ และระบบคิดของสังคมที่หากไม่เปลี่ยนแปลงก็
                   รังแต่จะทําให้พวกเขาไม่ได้รับความยุติธรรมอยู่รํ่าไป สุดท้าย คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจึงต้อง
                   รวมตัวกันเพื่อต่อสู้ช่วงชิงเอาอํานาจรัฐมาไว้ในมือของตนบ้าง ต่อสู้เพื่อเพียงเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่
                   เกี่ยวข้องกับเรื่องของตนเองบางฉบับบ้าง หรือต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบคิดบางอย่างในสังคมเพื่อให้
                   เกิดความเป็นธรรมแก่กลุ่มของตนเองบ้าง การต่อสู้เหล่านี้เรียกว่ากระบวนการประชาสังคม ซึ่งสําหรับ
                   ประเทศไทยเองก็มีกระบวนการประชาสังคมมากมายหลากหลายกระบวนการ เฉพาะกระบวนการ
                   ประชาสังคมในประเด็นสิทธิสตรีนั้น นักวิจัยได้ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร. กฤตยา อาชวนิจกุล
                   (กฤตยาและกนกวรรณ 2545) ศึกษาและบันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้ภาคประชาสังคมของกลุ่มผู้ร้อง
                   ขอความเป็นธรรมให้แก่ผู้หญิงในสังคมไทยไว้ทั้งสิ้น ๔ ประเด็นคือ หนึ่ง กระบวนการประชาสังคมเพื่อ
                   ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง สอง กระบวนการประชาสังคมเพื่อสิทธิของผู้หญิงรักผู้หญิง สาม
                   กระบวนการประชาสังคมเพื่อสิทธิของผู้หญิงผู้ติดเชื้อเอชไอวี และสี่ กระบวนการประชาสังคมเพื่อ
                   ผู้หญิงที่ร้องขอให้มีการทําแท้งโดยถูกกฎหมาย
                          นักวิชาการชื่อแมคแคนเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องกระบวนการประชาสังคมมานาน ในงานชิ้นหนึ่ง
                   (McCaan 2006) นักวิชาการท่านนี้ได้ออกโรงวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มคนที่ร่วมต่อสู้ในกระบวนการประชา
                   สังคม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสังคมใด ว่ามักจะเป็นผู้ที่ไม่ค่อยสนใจใยดีกับศาสตร์แห่งกฎหมายสัก
                   เท่าไหร่ และก็เป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร ในขณะที่นักกฎหมายหัวโบราณเองก็สนใจบทวิเคราะห์ของ
                   นักสังคมศาสตร์ในเรื่องกระบวนการประชาสังคมน้อยมากเช่นกัน เรื่องนี้ทําให้บุคคลสองกลุ่มนี้พูดสวน
                   กันไปสวนกันมาตลอดเวลา
                          เรื่องที่กลุ่มคนในกระบวนการประชาสังคมมักมีประสบการณ์ว่ากฎหมายเป็นเครื่องจักรผลิต
                   ความไม่เท่าเทียมนั้น แซนดีเฟอร์  (Sandefur  2008) บอกว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ากระบวนการประชา
                   สังคมมัวแต่ไปใช้กฎหมายในวิธีแบบเก่า โดยใช้กฎหมายแบบกฎหมายเขียนในกระดาษว่าอย่างไรก็ว่า
                   กันไปตามนั้นตามตรง และมักจะใช้กฎหมายในลักษณะที่เป็นทางการมากๆ ต้องใช้ในกรณีพิเศษเมื่อ
                   ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนเท่านั้น ซึ่งแซนดีเฟอร์บอกว่าการใช้กฎหมายแบบนี้เป็น
                   การใช้กฎหมายในบริบทที่แคบมาก แมคแคนเองก็ได้เคยบอกไว้ว่าที่จริงแล้วตัวบทกฎหมายเป็นเรื่อง
                   ของการตีความทั้งสิ้น และศาสตร์แห่งกฎหมายที่แท้จริงแล้วก็เป็นสิ่งที่คนทุกคนสามารถใช้ให้เป็น
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28