Page 25 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 25

๒๔

                   สังคมในการต่อสู้กับระบอบเดิมที่ไม่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่กลุ่มของตนได้ กระบวนการประชา
                   สังคมมักจะมอง ความเป็นธรรม จากประสบการณ์ของคนที่เข้าร่วมอุดมการณ์ภาคประชาสังคมนั้น
                   (Sandefur 2008) ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมองว่าอะไรเป็นเหตุให้พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม หน่วยงานใด
                   กฎหมายใด หรือกฎระเบียบใดที่ทําให้พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นความไม่เป็นธรรม
                   จากความแตกต่างระหว่างชนชั้น หรืออื่นๆ เช่น ความไม่เป็นธรรมจากความไม่เสมอภาคทางเพศ
                          กระบวนการประชาสังคมเป็น พื้นที่ทางสังคม ที่น่าสนใจเพราะเป็น พื้นที่ทางสังคม ที่สามารถ
                   เคลื่อนพื้นที่ทางสังคมอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยใช้เพียง “ความคิด” เป็นหัวเชื้อในการเคลื่อน เช่น ประเด็น
                   ความรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งมีเรื่องหนึ่งที่สําคัญคือเรื่องการถูกคุกคามทางเพศในที่ทํางาน ซึ่งการศึกษา
                   บ่งชี้ว่าเป็นอุปสรรคสําคัญที่ทําให้ผู้หญิงไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  (Phillips  and  Imhoff
                   1997)  และการถูกคุกคามทางเพศเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกชนชั้นตั้งแต่ผู้ใช้แรงงาน ( Mansfield  1991)
                   จนถึงแพทย์ (Philips and  Schneider  1993) การที่ผู้หญิงหลายคนเริ่มปฏิเสธระบบชายเป็นใหญ่ที่
                   ครอบงําชีวิตของพวกเธอ จนต่อมาได้คืบคลานไปจนรวมตัวกันเป็นความคิดของคนกลุ่มใหญ่ขึ้น เป็น
                   คนจากทุกชนชั้นของสังคม จนในที่สุดกลายเป็นกระบวนการประชาสังคมขึ้นมา มีพลพรรคที่เป็นทั้ง
                   หญิงและชายที่ต่อต้านการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน เพียงเท่านี้ความคิดที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆนั้นก็เป็น
                   พื้นที่ทางสังคมในตัวของมันเอง และสามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทางสังคมอื่น ไม่ว่า
                   จะเป็นพื้นที่ทางสังคม  เช่น ระบบคิดชายเป็นใหญ่ที่ครอบงําสังคม กฎหมายที่ไม่ยุติธรรม ตลอดจน
                   องค์กรที่เลือกปฏิบัติต่อพนักงาน
                   ๒.๕ ความเห็นสาธารณะต่อการยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงทุกรูปแบบ
                          กลุ่มคนในกระบวนการประชาสังคมเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงเริ่มต้นความคิดว่าผู้หญิง
                   ไม่ได้รับความเสมอภาคในสังคมจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบชายเป็น
                   ใหญ่โดยตรงบ้าง หรือบางรายตนเองไม่ได้ถูกเลือกปฏิบัติโดยตรง แต่ทนไม่ได้ที่เห็นความไม่เสมอภาค
                   ในสังคมก็เลยกระโจนลงมาช่วยบ้าง จะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตามที่ทั้งหญิงและชายในสังคมต่างๆทั่ว
                   โลกได้ช่วยกันร่วมคิดร่วมสู้มาเป็นระยะเวลานับร้อยปีเพื่อไม่ให้ผู้หญิงถูกจํากัดพื้นที่ให้อยู่แต่ในบ้าน
                   ทํางานบ้านเลี้ยงลูก ถูกจํากัดสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ถูกจํากัดการเข้าร่วมพิธี
                   ศาสนาบางอย่างเพราะพิธีนั้นเป็นเรื่องของผู้ชาย หรือถูกจํากัดว่าห้ามสมัครเข้าทํางานบางประเภทที่
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30