Page 21 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 21
๒๐
ความรู้สึกเลวร้ายทั้งหมดลงไป วิธีการกดทับไว้คือการตัดเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นออกไปจาก
จิตสํานึก การศึกษาของบราวน์น่าสนใจมาก และสิ่งหนึ่งที่การศึกษานี้บอกชัดเจนก็คือผลกระทบของ
การถูกคุกคามทางเพศเป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อจิตใจระดับลึกมาก แต่ก็มีนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งที่
เรื่องเล่า
ค้านการศึกษาของบราวน์ นักวิชาการกลุ่มนี้บอกว่าการสะกดจิตอาจจะทําให้บราวน์ได้
บางอย่างออกมาจากปากของผู้ที่ถูกสะกดจิตอยู่จริง แต่คําถามคือใครจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เล่าออกมา
เป็น ความทรงจํา ที่ถูกกดทับไว้ด้วยความเจ็บปวดเพราะถูกคุกคามทางเพศ เพราะมันอาจจะเป็น
ความทรงจําปลอม ที่ผู้ถูกสะกดจิตสร้างขึ้นมาใหม่ แต่นักสะกดจิตกลับเชื่อว่าเป็นจริงก็ได้
นอกจากการคุกคามทางเพศโดยตัวของมันเองจะมีผลกระทบอย่างแรงต่อจิตใจของ
ผู้ถูกกระทําแล้ว ในหลายสังคมผู้หญิงที่ถูกคุกคามทางเพศจะกลายเป็นผู้ถูกดูถูกดูหมิ่นซํ้าเติม เช่น ไป
ทําอะไรมาผู้ชายถึงอยากทําอะไรเราล่ะ หรือ ถ้าวางตัวดีก็ไม่มีผู้ชายคนไหนกล้าหรอก หรือ แต่งตัวเปิด
หน้าเปิดหลังล่ะสิ ฉันเห็นตั้งแต่แรกก็รู้แล้วว่าวันหนึ่งจะต้องโดนแน่ๆ เหล่านี้เป็นต้น แทนที่สังคมจะ
เข้าใจผู้ถูกทําร้าย แต่กลับมองว่าผู้ถูกทําร้ายเป็นผู้ผิด และเลยตีตราต่อเนื่องไปเลยว่าเพราะวางตัวไม่ดี
จึงถูกคุกคามทางเพศ และเมื่อถูกคุกคามทางเพศไปแล้วก็แปลว่าไม่ดีไปแล้ว ซึ่งก็สมควรเพราะเป็น
ผู้หญิงไม่ดีมาตั้งแต่แรก การศึกษาของเมเจอร์และโอไบรเอน (Major and O’Brien 2005) เพื่อดู
ผลกระทบทางด้านจิตใจและอารมณ์จากการถูกตีตราหลังถูกคุกคามทางเพศระบุว่า การตีตรามี
ผลกระทบต่อจิตใจของผู้ถูกตีตราเป็นอย่างยิ่ง วิธีการแสดงออกโดยตรงถึงการตีตรามักเป็นการเลือก
ปฏิบัติ เช่น การตีความตามความคิดของตัวเองว่าพฤติกรรมใดของผู้ถูกตีตราที่นําไปสู่การคุกคามทาง
เพศ แล้วตอกยํ้าความคิดนั้นให้ผู้ถูกคุกคามทางเพศฟัง หรือ การเหมารวมพฤติกรรมของผู้ถูกคุกคาม
แล้วผูกเรื่องต่อโดยอัตโนมัติว่าเพราะทําแบบนี้จึงถูกคุกคามทางเพศ เป็นต้น
ไม่น่าเชื่อว่าการถูกตีตราซํ้าหลังจากถูกคุกคามทางเพศไปแล้วจะเป็นสิ่งเกิดขึ้นได้และได้
เกิดขึ้นไปแล้วจริง ผู้ถูกกระทําทางเพศแล้วถูกตีตราซํ้าว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีจะรู้สึกสูญเสียความเป็นตัวเอง
อย่างแรง จะเกิดภาวะความเครียดสูง และเมื่อไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ความเป็น
ตัวตนของเธอก็จะถูกทําลายลง ไม่สามารถดําเนินชีวิตต่อไปอย่างปกติสุขได้ แต่การศึกษาของเมเจอร์
และโอไบรเอนก็บอกไว้ว่าภาวะที่ “ตัวตนถูกทําลาย” ของผู้ถูกกระทําทางเพศแล้วถูกตีตราซํ้าจะขึ้นอยู่
กับปัจจัย เช่น สถานการณ์แวดล้อมเป็นอย่างไร ครอบครัวและเพื่อนคอยเป็นกําลังใจให้เพียงใด เธอ
ต้องเผชิญหน้ากับการถูกตีตราซํ้าบ่อยแค่ไหน ทุกวันที่เดินเข้าที่ทํางานหรือไม่ พื้นฐานจิตใจของเธอ