Page 17 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 17
๑๖
การศึกษาเป็นกลุ่มสําคัญ (educated white-collar middle class) คําว่า “ใหม่” เติมเข้าไปเพื่อให้
แตกต่างจากขบวนการเก่าก่อนหน้านี้ที่ผู้เข้าร่วมขบวนการมีฐานมาจากชนชั้น เช่น ขบวนการสหภาพ
แรงงาน ขบวนการเสรีนิยม ขบวนการคอมมิวนิสต์ และมีจุดมุ่งหมายล้มล้างอํานาจรัฐเดิม แต่
ขบวนการ “ใหม่” มิได้มาจากชนชั้นกรรมกรหรือชาวนาเท่านั้น และมิได้มีจุดมุ่งหมายล้มล้างอํานาจรัฐ
ที่เป็นอยู่ ขบวนการใหม่มีนัยยอมรับกรอบการเมืองประชาธิปไตยเสรีนิยม บางกลุ่มต้องการสร้างอัต
ลักษณ์ด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่าง (cultural identity) หรือเรียกร้องให้สังคมยอมรับการดําเนินชีวิตที่
แตกต่าง (เกย์ หญิงรักหญิง) หลายๆขบวนการเป็นเรื่องคุณภาพชีวิต และการยืนหยัดสิทธิปัจเจก
บุคคล”
จากฐานคิดเดียวกับอาจารย์ผาสุก นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งที่ตนเองประจักษ์จากการเรียนรู้เกี่ยวกับ
๓๔ ปีแห่งการการยืนหยัดต่อสู้เพื่อคุณภาพชีวิตของพนักงานการบินไทยทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งการยืนหยัดต่อสู้เพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานหญิงและการคุกคามทางเพศต่อพนักงานหญิง
นั้น นักวิจัยมองว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) ภายใต้การนําของคุณ
แจ่มศรีเป็นกระบวนการประชาสังคมยุคใหม่ เป็นหนึ่งในมิติใหม่ของการต่อสู้ภาคประชาชนใน
สังคมไทยที่ปัจจุบันมีการต่อสู้ในประเด็นต่างๆ เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสิทธิทางเพศ เรื่องสิทธิผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษากระบวนการประชาสังคมของสหภาพการบิน
ไทย นักวิจัยได้ศึกษางานวิจัยชิ้นอื่นที่มีประเด็นเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประเด็นที่คาดว่าจะพบใน
กรณีศึกษาสหภาพแรงงานการบินไทย ประเด็นที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้แก่ประเด็นเกี่ยวกับวิธีคิดเรื่องการ
คุกคามทางเพศในที่ทํางาน ประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบต่อผู้ถูกคุกคามทางเพศในที่ทํางาน ประเด็น
เกี่ยวกับกระบวนการประชาสังคม และประเด็นเกี่ยวกับความเห็นสาธารณะต่อการยุติการเลือกปฏิบัติ
ต่อผู้หญิงทุกรูปแบบ
๒.๒ วิธีคิดเรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน
หากจะกล่าวถึงองค์ความรู้ในประเด็นเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ และเน้นขอบเขตให้ชัดเจน
ถึงเรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางานเป็นการเฉพาะ อาจกล่าวได้ว่างานวิจัยและองค์ความรู้ในเรื่องนี้
มีอยู่น้อยมาก (Welsh 1999) ความรู้เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศที่มีอยู่ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมาเป็นเรื่อง
ของสถิติการคุกคามทางเพศเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสถิติ เช่น ความถี่ของการคุกคามทางเพศแต่ละ