Page 16 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 16

๑๕


                                       บทที่ ๒ กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
                   ๒.๑ กรอบแนวคิดการศึกษาวิจัย
                          นักวิจัยใช้กรอบแนวคิด  กระบวนการประชาสังคม  ในการศึกษาการต่อสู้เพื่อยุติการกระทํา
                   ความรุนแรงต่อผู้หญิงในกรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัทการบินไทย
                          กระบวนการประชาสังคมในประเทศไทยในยุคแรกเริ่มก็เป็นดั่งกระบวนการประชาสังคมใน
                   ประเทศอื่นทั่วโลก กล่าวคือเป็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอํานาจรัฐ และเพื่อความเท่าเทียมระหว่างชนชั้น
                   เช่น การต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย บรรทัดฐานของการต่อสู้ภาคประชาสังคมยุค
                   แรกเริ่มที่มีเป้ าประสงค์เพื่อช่วงชิงอํานาจรัฐและเพื่อความเท่าเทียมระหว่างชนชั้นเป็นที่ตั้ง กลายเป็น
                   สัญลักษณ์ของกระบวนการประชาสังคมเสียจนเมื่อเกิดกระบวนการประชาสังคมยุคใหม่ขึ้นมา ผู้เป็น
                   ตัวตั้งตัวตีในกระบวนการประชาสังคมยุคใหม่ ก็มักจะถูกโต้แย้งโดยคนในกระบวนการประชาสังคมยุค
                   แรกเริ่ม ว่าเป็นเหตุให้เกิดอาการชะงักงันในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอํานาจรัฐ และเพื่อความเท่าเทียม
                   ระหว่างชนชั้น คนในประชาสังคมยุคแรกเริ่มมองว่าแทนที่มวลชนจะรวมตัวกันเป็นพรรคการเมือง ซึ่ง
                   เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ก็กลับมาสนใจในกระบวนการประชาสังคมยุคใหม่กันเกือบ
                   หมด แม้กระบวนการประชาสังคมยุคใหม่ไม่นําพาอะไรไปถึงไหน เพราะไม่มีการจัดตั้งพรรคการเมือง
                   แต่คนในกระบวนการประชาสังคมยุคใหม่ก็โต้กลับว่าไม่ใช่อย่างที่กลุ่มยุคแรกเริ่มคิดเสมอไป เพราะยุค
                   สมัยย่อมเปลี่ยนแปลง ความซับซ้อนในเชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่คนยุค
                   แรกเริ่มคุ้นเคยไปเสียทั้งหมด ระบบการจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อช่วงชิงอํานาจรัฐมาไว้ในมือของตนจึง
                   ไม่ใช่ทางออกของการต่อสู้อีกต่อไป ศาสตราจารย์ ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬา
                   ลงการณ์มหาวิทยาลัย เคยวิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจว่า (ผาสุกและคณะ 2545: หน้า 8-9)
                          “จากกลางทศวรรษ ๒๕๐๐ คําว่าขบวนการทางสังคมมีความหมายเปลี่ยนไปจากขบวนการที่
                   มีรากฐานมาจากชนชั้นกรรมกร หรือชาวนาชาวไร่ (ขบวนการทางสังคมเก่า) โดยถูกนํามาใช้เรียกขาน
                   ขบวนการต่อต้านการทําสงครามต่อต้านนิวเคลียร์ ขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามของนักศึกษา
                   ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรี สิทธิของเกย์ สิทธิหญิงรักหญิง และขบวนการสิ่งแวดล้อม นักวิเคราะห์
                   บางคนเรียกขบวนการดังกล่าวเหล่านี้ว่าขบวนการสังคมใหม่  (new  social  movements  หรือ NSM)
                   เพราะว่าผู้ร่วมขบวนการมาจากหลายชนชั้น และมีกลุ่มคนชนชั้นกลางประเภทคนงานนั่งโต๊ะที่มี
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21