Page 85 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 85
วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีได้อาศัยอำานาจตามความใน
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ มีมติให้เขตพื้นที่
กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงเป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร พร้อมกับจัดตั้งศูนย์อำานวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.)
ต่อมา วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ เมื่อกลุ่ม นปช. ได้ไปที่อาคารรัฐสภา
จนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถเข้า - ออกรัฐสภา ได้มีการทำาร้ายเจ้าหน้าที่รักษาความ
ปลอดภัยของรัฐสภาจนได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งกลุ่ม นปช. ได้ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
บางคนทำาการตรวจค้นรัฐสภาเพื่อค้นหานายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
รวมทั้งการบุกรุกเข้าไปในสถานที่ราชการและกระทำาต่อทรัพย์สินของผู้อื่น นายกรัฐมนตรีโดย
ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำาหนดการ
บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองให้สงบ
แม้กระนั้นก็ยังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงตามมาในหลายกรณีที่มีการใช้กำาลังและการใช้อาวุธ
ของทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐที่เข้าควบคุมสถานการณ์การชุมนุม เช่น เหตุการณ์วันที่
๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว เป็นต้น
จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า การดูแลการชุมนุมใน
สถานการณ์ปกติจะใช้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อใช้ในการดูแลและอำานวยความสะดวกให้กับผู้ชุมนุม
แต่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ หากรัฐเลือกที่จะใช้มาตรการตามกฎหมายพิเศษ เช่น พระราชบัญญัติ
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือการประกาศใช้พระราชกำาหนดการ
บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่มีวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กับสถานการณ์
พิเศษที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ สาระสำาคัญของกฎหมายเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อ
สิทธิและเสรีภาพของบุคคลในบางประการ การนำากฎหมายพิเศษมาประกาศใช้ต้องกระทำาตาม
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายให้อำานาจไว้ และเท่าที่จำาเป็นต่อสถานการณ์กับการชุมนุมที่
ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่านมาการประกาศใช้กฎหมายพิเศษยังมีความ
เข้าใจไม่ตรงกันระหว่างผู้ดูแลการชุมนุมกับผู้ชุมนุม มีผลเป็นการสร้างความกดดัน ความตึงเครียด
ความหวาดระแวงและความไม่ไว้วางใจกับกลุ่มผู้ชุมนุม และเป็นสาเหตุหนึ่งที่เร่งให้สถานการณ์
การชุมนุมของฝูงชนบานปลายไปสู่การใช้ความรุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียได้ ดังเช่น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา
การกำาหนดมาตรการในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการเลือกใช้
กฎหมายในการดูแลการชุมนุม พึงต้องระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งต้องประเมินถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนกลุ่มต่างๆ
นอกเหนือจากผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย และหากเลือกที่จะใช้กฎหมายพิเศษ หลังจาก
ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแล้ว รัฐจำาเป็นต้องกำาหนดมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผล
83
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓