Page 86 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 86

กระทบต่างๆ เหล่านั้น  รวมถึงการกำาหนดมาตรการและกลไกเฉพาะในการดูแลการชุมนุม จึงเป็น

                  เรื่องจำาเป็นเร่งด่วนที่รัฐจะต้องดำาเนินการให้เกิดขึ้น


                                   (๓)  การดูแลสถานการณ์การชุมนุมโดยรัฐ  ต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบเป็น
                                        การเฉพาะ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวต้องมีแผนปฏิบัติการและขั้นตอนที่ชัดเจน

                                        มีเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะในการทำางานด้านมวลชน รวมถึงเครื่องมือที่เหมาะสม

                                        ในกรณีที่รัฐมีความจำาเป็นต้องควบคุมสถานการณ์หรือยุติการชุมนุม
                  โดยการต้องใช้กำาลังเพื่อเข้าไปดำาเนินการ  ซึ่งในเรื่องนี้ ศาลปกครองกลางเคยวางหลักการใช้กำาลัง

                  เข้ายุติการชุมนุมที่สร้างความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง  และกรณีที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ
                  ของผู้อื่นไว้ในคำาสั่งกำาหนดมาตรการชั่วคราว  ในคดีหมายเลขดำา ที่ ๑๖๐๕/๒๕๕๑ ว่า “...การ

                  กระทำาของเจ้าหน้าที่ตำารวจเพื่อสลายการชุมนุมจะต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็น โดยคำานึงถึงความ
                  เหมาะสม มีลำาดับขั้นตอนตามหลักสากลที่ใช้ในการสลายการชุมนุมของประชาชน...”  จึงเห็น

                  ได้ว่า สิ่งที่รัฐต้องพิจารณาเบื้องต้นในการดำาเนินการดังกล่าว คือ รูปแบบหรือแผนปฏิบัติการที่มี
                  ขั้นตอน  ผู้สั่งการและผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน  และเมื่อพิจารณามาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องในเรื่อง

                  การควบคุมหรือยุติการชุมนุมแล้วพบว่า  มีหลักการและกรอบที่สหประชาชาติให้การรับรองอยู่
                  ๒ หลัก  คือ ประมวลหลักการประพฤติปฏิบัติสำาหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code of

                  Conduct  for  Law  Enforcement  Officials  :  CCLEO,1979)  ซึ่งได้การรับรองโดยที่ประชุม
                  สหประชาชาติ  ข้อมติ ที่ ๓๔/๑๖๙ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๒  และหลักการพื้นฐานในการ

                  ใช้กำาลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles on the Use of Force
                  and Firearms by Law Enforcement Officials : BPUFF,1990)  ซึ่งได้การรับรองโดยการประชุม

                  สหประชาชาติ ครั้งที่ ๘  ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำาผิด  ระหว่าง
                  วันที่ ๒๗ สิงหาคม – ๗ กันยายน ๒๕๓๓  ณ กรุงฮาวานา  ประเทศคิวบา  ซึ่งหลักการพื้นฐานฯ

                  ดังกล่าวนี้ ได้กำาหนดขึ้นเพื่อให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายของรัฐภาคีสามารถใช้เป็น
                  แนวทางปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับในการใช้กำาลังและอาวุธกับบุคคล  บนหลักการที่ว่าต้อง

                  ใช้ในสถานการณ์ที่จำาเป็นและพอสมควรแก่เหตุ   ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ
                  ตระหนักถึงความจำาเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องใช้ความพยายามอย่างที่สุดในการใช้วิธีการอื่น

                  ที่ไม่รุนแรง ใช้การยับยั้งชั่งใจในการใช้กำาลังและอาวุธ และกระทำาการโดยสมควรกับความหนักเบา
                  ของการกระทำาผิด  โดยคำานึงเสมอว่าวิธีการใช้กำาลังและอาวุธเป็นวิธีการสุดท้าย  เพื่อลดความ

                  เสียหายและการบาดเจ็บให้น้อยที่สุด โดยเคารพและรักษาไว้ซึ่งชีวิตมนุษย์  นอกจากนี้ การใช้
                  เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐที่เข้าไปควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะ หรือควบคุมฝูงชนที่มี

                  การชุมนุม  จำาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานซึ่งได้รับการฝึกอบรมในการควบคุม
                  ฝูงชนเป็นการเฉพาะ






                                                         84
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91