Page 89 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 89
๒) คณะรัฐมนตรีโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทบทวนถึงแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้อง
กับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖๓ ที่ต้องส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและ
ปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ รัฐควรสร้างกลไกให้มีหน่วยงานเฉพาะเพื่อทำาหน้าที่
ในการรับปัญหาและพิจารณาแก้ไขเบื้องต้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาขยายตัว
มากขึ้น จนต้องมีการชุมนุม
๓) คณะรัฐมนตรีต้องดำาเนินการเผยแพร่ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนว่า
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นตามรายงานฉบับนี้ มีข้อค้นพบที่เป็นปัญหาความขัดแย้ง
ในเชิงโครงสร้างที่รุนแรงจากการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จึงเป็นหน้าที่
ที่ทั้งภาครัฐและภาคสังคมจะต้องร่วมกันหาทางออก โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน
ตามแนวทางสันติวิธี หลักนิติธรรม หลักการมีส่วนร่วม และหลักขันติธรรม
ทั้งต้องคำานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ในการแสวงหาทางออก ทุกฝ่าย
ต้องมีความจริงใจและร่วมมือกันบนพื้นฐานการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย
และเปิดใจกว้าง โดยลดการเอาชนะคะคานกันของพรรค ของกลุ่ม ของครอบครัว
ของบุคคล มาเป็นผลประโยชน์โดยรวม
๔) คณะรัฐมนตรีโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำาเนินการสืบสวน สอบสวนหา
ข้อเท็จจริงและติดตามผู้กระทำาความผิด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ชุมนุม
หรือบุคคลใดก็ตามมาดำาเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม ในเหตุการณ์ที่มี
ผู้เสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บทุกเหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๐
เมษายน ๒๕๕๓ และเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตบริเวณวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
ตลอดจนการวางเพลิงเผาทรัพย์และเหตุการณ์อื่นๆ ที่มีการกระทำาผิดกฎหมาย
๕) คณะรัฐมนตรีควรตระหนักและหาทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เพื่อสร้างความ
้
เป็นธรรมและลดความเหลื่อมลำาทางสังคม อันจะนำาไปสู่การเคารพสิทธิและ
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างกว้างขวาง
๖) คณะรัฐมนตรีต้องดำาเนินการสร้างความเป็นธรรมในระยะการเปลี่ยนผ่านของ
สังคม โดยต้องทำาความจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ปรากฏ และมีมาตรการใน
การลงโทษผู้กระทำาความผิดโดยยึดหลักกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนสร้าง
ระบบในการชดเชย เยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
๗) คณะรัฐมนตรีต้องไม่กระทำาและละเลยการกระทำา ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เป็น
การสกัดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามสิทธิในกฎหมาย หรือเป็นการแทรกแซง
หรือละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน
นอกจากนี้ รัฐบาลต้องดำาเนินการให้เกิดการปฏิรูปสื่อตามเจตนารมณ์ของ
87
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓