Page 82 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 82
ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน อันไม่เป็นไปตามหลักการใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘ ได้บัญญัติไว้ ทั้งมีข้อเท็จจริง
อีกบางประการที่ยังเป็นข้อเคลือบแคลงสงสัยของสังคมว่า ผู้ใด ฝ่ายใดเป็นผู้กระทำา หรือผู้ชุมนุม
มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในเหตุการณ์นั้นหรือไม่ ได้แก่ การปรากฏกลุ่มชายชุดดำาปะปนอยู่กับกลุ่ม
ผู้ชุมนุม การเกิดเหตุระเบิดบริเวณสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง การเสียชีวิตของนายทหาร เจ้าหน้าที่
ของรัฐ สื่อมวลชนต่างชาติ และประชาชน รวมตลอดถึงการเผาทำาลายอาคารสถานที่ต่าง ๆ
(๓) ผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมชุมนุมจะต้องชุมนุมในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดผล
กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั่วไป หรือให้น้อยที่สุดเท่าที่
จำาเป็น และต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมด้วย
การที่กลุ่ม นปช. ย้ายพื้นที่ชุมนุมจากถนนราชดำาเนินไปสู่สี่แยกราช
ประสงค์ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิและเสรีภาพในที่อยู่อาศัยและความเป็นอยู่ส่วนตัว
สิทธิและเสรีภาพในการเดินทาง ซึ่งต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง โดยรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกติการะหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ยิ่งการชุมนุม
ยืดเยื้อเพียงใดย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และความเชื่อมั่นของนานา
อารยประเทศที่มีต่อประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ในห้วงเวลาของการชุมนุมของกลุ่ม
นปช. ตั้งแต่เดือนมีนาคม จนกระทั่งถึงวันที่ยุติการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ลักษณะของ
การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในภาพรวม นั้น ในช่วงแรกของการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบและสันติ
ตามกรอบของการใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญกำาหนดไว้ แต่เมื่อกลุ่ม นปช.ได้ขยายพื้นที่ของ
การชุมนุมออกไปจากบริเวณถนนราชดำาเนิน ไปยังสี่แยกราชประสงค์ ที่เป็นจุดตัดของถนนเพลินจิต
และถนนราชดำาริ ทั้งยังเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้า บริษัท ห้าง ร้านหลายแห่ง และเป็นบริเวณที่อยู่
ใจกลางของกรุงเทพมหานคร มีความสำาคัญทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคม ตลอดจน
เป็นที่ตั้งของสถานที่สำาคัญของประเทศหลายแห่ง เช่น สำานักงานตำารวจแห่งชาติ การไฟฟ้า
นครหลวง โรงพยาบาลตำารวจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
จากข้อเท็จจริงข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการชุมนุมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างต่อเนื่อง และนับตั้งแต่การขยายพื้นที่ของการชุมนุมออกไป กลับมีผลกระทบต่อประชาชน
ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือมีเหตุจำาเป็นต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่
ที่มีการชุมนุม ทั้งเป็นสถานที่ตั้งของที่ทำางาน หรือใช้ประโยชน์อื่น ต้องได้รับความเดือดร้อนและ
ไม่สะดวกในการใช้พื้นที่สาธารณะนี้ อันถือได้ว่า เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมที่
กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และเกิดความไม่สงบขึ้นในพื้นที่ชุมนุมและใกล้เคียง
80
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓