Page 87 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 87

จากเหตุการณ์ในการชุมนุมที่ยกมาข้างต้น  จะเห็นได้ว่า การใช้สิทธิและ

                     เสรีภาพในการชุมนุมของผู้ชุมนุมบางส่วนนั้น  มีการใช้สิทธิและเสรีภาพเกินขอบเขตที่ได้บัญญัติ
                     รองรับไว้ตามรัฐธรรมนูญ  และแม้รัฐบาล โดย ศอฉ. ได้ใช้กำาลังทหารเข้ามาควบคุมความสงบ

                     เรียบร้อยที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอำานาจตามกฎหมาย  แต่ก็มิอาจรักษาความสงบเรียบร้อยหรือยับยั้ง
                     มิให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ  รวมถึงเศรษฐกิจ

                     ของประเทศได้ จึงเห็นได้ว่า มาตรการที่รัฐได้เข้าไปดำาเนินการนั้น  ยังมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                     ไม่เพียงพอต่อการควบคุมสถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้น  อันอาจเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ทหาร

                     อาวุธ และวิธีการที่นำาอาวุธมาใช้ในการรักษาความเรียบร้อยนั้น  มิได้เป็นไปเพื่อการควบคุม
                     ฝูงชนเป็นการเฉพาะ  อาวุธและอุปกรณ์ที่ใช้ดำาเนินการยังไม่เหมาะสมกับการควบคุมสถานการณ์

                     การชุมนุม  และแม้เจ้าหน้าที่ทหารจะใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดในการที่จะไม่ใช้อาวุธ  โดยใช้
                     มาตรการที่เริ่มจากเบาไปหาหนัก  แต่เนื่องจากสถานการณ์มีความซับซ้อน  และมีกลุ่มบุคคล

                     ไม่ทราบฝ่ายพยายามยั่วยุให้เกิดความรุนแรงขึ้น  เพื่อสร้างสถานการณ์ให้มีการใช้อาวุธและใช้กำาลัง
                     จึงเป็นบทเรียนสำาคัญที่ว่า  ในสถานการณ์ที่เกิดความซับซ้อนและมีการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงนี้

                     เจ้าหน้าที่ซึ่งบังคับใช้กฎหมายต้องได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพเป็นการเฉพาะในการ
                     ควบคุมฝูงชน  อุปกรณ์หรืออาวุธที่ใช้ต้องไม่มีประสิทธิภาพร้ายแรงจนทำาให้ถึงแก่ชีวิต รวมถึงการ

                     สั่งการของผู้บังคับบัญชา ต้องทำาความเข้าใจกับขั้นตอน กระบวนการ และวิธีการตามหลักการ
                     พื้นฐานในการใช้กำาลังและอาวุธปืน ตามประมวลหลักการประพฤติปฏิบัติสำาหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับ

                     ใช้กฎหมาย และหลักการพื้นฐานในการใช้กำาลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย
                     ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

                                          อนึ่ง เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เห็นได้ว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุม

                     ในที่สาธารณะของประชาชนตามรัฐธรรมนูญนั้น  โดยปกติ รัฐไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงหรือ
                     จำากัดเสรีภาพดังกล่าวได้  แต่รัฐสามารถควบคุมการชุมนุมให้อยู่ภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญให้การ

                     รับรองและคุ้มครอง  รวมทั้งกรอบตามที่กฎหมายอื่นๆ บัญญัติไว้  ดังนั้น หากเมื่อใดที่รัฐเห็นว่า
                     การชุมนุมเริ่มไม่เป็นไปตามกรอบหรือมีการกระทำาที่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง

                     และยากที่รัฐจะสามารถนำากฎหมายที่มีอยู่มาบังคับใช้เพื่อควบคุมฝูงชนได้  เช่น พระราชบัญญัติ
                     จราจรทางบก  พ.ศ. ๒๕๒๒  และพระราชบัญญัติทางหลวง  พ.ศ. ๒๕๓๕  เพื่อใช้ควบคุมกรณี

                     ที่มีการปิดกั้นเส้นทางการสัญจรไปมาของประชาชน  พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและ
                     ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง  พ.ศ. ๒๕๓๕  เพื่อใช้ควบคุมมิให้การชุมนุมสร้าง

                     ความเสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา
                     โดยใช้เครื่องขยายเสียง  พ.ศ. ๒๔๙๓  เพื่อใช้ควบคุมกรณีมีการใช้เครื่องขยายเสียงดังรบกวน

                     ผู้อื่น  หรือแม้กระทั่งประมวลกฎหมายอาญา  ในกรณีที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดกระทำา
                     ความผิดอาญาขึ้นในระหว่างที่มีการชุมนุม  ทั้งนี้  รัฐอาจมีมาตรการในการเพิ่มอัตรากำาลัง





                                                            85
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92