Page 84 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 84
บันทึกไว้โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการ
ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีว่า เจตนารมณ์ของมาตรานี้เพื่อคุ้มครองเสรีภาพของประชาชน
ในการชุมนุม กำาหนดให้บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำากัดสิทธิ
และเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำาได้เฉพาะเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำานาจไว้เพื่อคุ้มครอง
ประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการใช้ที่สาธารณะ และเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่าง
ภาวะสงครามระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
สาเหตุที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จะต้อง
บัญญัติไว้เช่นนี้ ด้วยเหตุเพราะหากบุคคลมุ่งที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพที่ตนเองมีอยู่ โดยขาดการ
ตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือความสงบเรียบร้อยของสังคมหรือสาธารณะแล้ว
จะเกิดสภาพของการใช้สิทธิและเสรีภาพที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นและ
สาธารณะทั่วไป สุดท้ายแล้วการใช้สิทธิและเสรีภาพนั้นก็จะไม่เป็นไปตามความมุ่งหวังของ
รัฐธรรมนูญ ดังนั้น หากมีการใช้สิทธิและเสรีภาพที่มีลักษณะดังที่ว่าแล้ว รัฐจึงย่อมมีเหตุผล
ที่จะจำากัดการใช้สิทธิและเสรีภาพนั้นได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำาหนดไว้ กล่าวคือ
จะต้องกระทำาโดยกฎหมายหรือกฎ จะต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำาหนดไว้ในเรื่องนั้นๆ และจะต้อง
ไม่กระทบต่อสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นด้วย และเมื่อพิจารณาเฉพาะกรณีเสรีภาพใน
การชุมนุม จะเห็นได้ว่า หากมีการกระทำาใดที่เป็นการขัดหรือแย้ง หรือไม่เป็นไปตามหลักของ
การใช้เสรีภาพในการชุมนุมแล้ว รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐสามารถจำากัดการใช้เสรีภาพได้
โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เข้าดำาเนินการเพื่อคุ้มครองความสะดวกของ
ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะ
สงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ดังนั้น
ในข้อเท็จจริง หากปรากฏว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ที่รัฐธรรมนูญ ตลอดจนกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองให้การ
รับรองไว้ และการใช้เสรีภาพที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์นั้น เป็นการกระทบต่อประชาชนที่ไม่
เกี่ยวข้องกับการชุมนุม รัฐจึงสามารถใช้อำานาจเข้าแทรกแซงการใช้เสรีภาพได้ตามที่รัฐธรรมนูญ
กำาหนด แต่ในทางตรงกันข้าม หากปรากฏว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมนั้น อยู่ภายใต้กรอบ
ที่รัฐธรรมนูญกำาหนด อันได้แก่ เป็นการชุมนุมที่สงบและเป็นการชุมนุมที่ปราศจากอาวุธแล้ว
ก็ไม่มีเหตุผลความจำาเป็นหรือความชอบธรรมใดที่รัฐจะอ้างเพื่อจำากัดการใช้เสรีภาพดังกล่าว
(๒) รัฐควรหลีกเลี่ยงการประกาศใช้กฎหมายพิเศษเพื่อดูแลความสงบและ
ความเรียบร้อยในการชุมนุม เพราะไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการดูแล
สถานการณ์การชุมนุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐจึงจำาเป็นต้องมีมาตรการ
กฎหมายที่เหมาะสมหรือกลไกเฉพาะเพื่อดูแลและรักษาความสงบเรียบร้อย
ในการชุมนุม
82
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓