Page 83 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 83

ตามที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  มาตรา  ๒๘

                     วรรคหนึ่ง  ได้บัญญัติไว้ว่า  “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  หรือใช้สิทธิและเสรีภาพ
                     ของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ  หรือไม่ขัด

                     ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน”


                               ๕.๑.๒ บทเรียนภาครัฐ

                               บทเรียนที่สำาคัญสำาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ พอสรุปเป็นหัวข้อได้ ดังนี้

                                      (๑)  รัฐต้องดูแลการชุมนุมให้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้กระทบ
                                          ต่อสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทุกฝ่าย  โดยคำานึงถึง

                                          กรอบแห่งกฎหมาย มาตรฐานสากล รวมถึงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่าง

                                          รอบคอบ
                                          บทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐

                     มาตรา ๒๙ ได้บัญญัติว่า

                               “การจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำามิได้  เว้นแต่
                     โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำาหนดไว้และเท่าที่
                     จำาเป็น  และจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

                               กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป  และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ

                     แก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง  ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่ง
                     รัฐธรรมนูญที่ให้อำานาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย
                               บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำามาใช้บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำานาจ

                     ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม”

                               มาตรา ๖๓ บัญญัติว่า
                               “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
                               การจำากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติ

                     แห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชน

                     ที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
                     หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก”

                               จากบทบัญญัติข้างต้นจะเห็นได้ว่า  รัฐธรรมนูญได้บัญญัติเงื่อนไขของการจำากัดการใช้
                     สิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้  ให้รัฐสามารถดำาเนินการได้โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่ง

                     กฎหมาย  กฎที่ออกโดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะที่รัฐธรรมนูญกำาหนดไว้
                     และเท่าที่จำาเป็น  โดยจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้  ซึ่งเมื่อพิจารณา

                     จากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๖๓ ที่




                                                            81
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88