Page 88 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 88

เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากประชาชน ทำาหน้าที่หาข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมที่อาจจะเกิดขึ้นใน

                  สถานที่ต่างๆ  เพิ่มมาตรการในการกำาชับเร่งรัด  ติดตามผลการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน
                  ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้การชุมนุมอยู่ในพื้นที่จำากัดไม่ขยายขอบเขตการชุมนุม  มีมาตรการในการ

                  ประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างความรู้สึก  ความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการชุมนุม
                  ของประชาชน  เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้การชุมนุมกลับมาอยู่ในภาวะที่สามารถควบคุม และหา

                  ทางออกร่วมกันในสิ่งที่ผู้ชุมนุมเรียกร้องได้ง่ายกว่าการที่มีภาพของกองกำาลังทหารยืนกดดัน
                  ประชาชน อันจะยิ่งทำาให้สถานการณ์มีความตึงเครียดมากขึ้น

                                        อย่างไรก็ตาม หากการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการดูแลการชุมนุมที่

                  มีอยู่ยังไม่มีประสิทธิภาพ สมควรให้รัฐบาลมีมาตรการ บุคลากร และกลไกทางกฎหมายที่เหมาะสม
                  ที่สามารถดูแลการชุมนุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ



                            ๕.๒ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                                ผลจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ปรากฏ  การปฏิบัติทั้งสองฝ่ายมีการกระทำา

                  ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งบางกรณีได้มีการฟ้องคดีต่อศาล และบางกรณีอยู่ในระหว่าง
                  การตรวจสอบของหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  เห็นว่า การใช้อำานาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                  มาตรา ๒๕๗ (๕) และตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                  มาตรา ๑๕ (๓) สมควรกำาหนดให้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงาน
                  ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำาเนินการ

                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึง
                  วิกฤติการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและนำามาสู่ความแตกแยกทางสังคมอย่างที่ไม่เคยปรากฏ

                  มาก่อน  ดังนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีข้อเสนอเป็นแนวทางการดำาเนินการ
                  ดังต่อไปนี้


                            ๑)  คณะรัฐมนตรีควรหลีกเลี่ยงการประกาศใช้กฎหมายพิเศษ ได้แก่ พระราชบัญญัติ
                                 กฎอัยการศึก  พุทธศักราช  ๒๔๕๗  พระราชกำาหนดการบริหารราชการใน

                                 สถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ. ๒๕๔๘  และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง
                                 ภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑  เว้นแต่การชุมนุมแปรเปลี่ยนไปสู่สถานการณ์

                                 วิกฤติ หรือการจลาจลที่จะกระทบต่อความมั่นคง หรือก่อให้เกิดความไม่สงบ
                                 เรียบร้อยอย่างร้ายแรง  ทั้งนี้ ควรต้องมีการกำาหนดกรอบการใช้อำานาจของ

                                 เจ้าหน้าที่ที่ชัดเจน  และมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นการกระทำาต่อการละเมิดสิทธิ
                                 มนุษยชน






                                                         86
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92