Page 81 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 81

มนุษยชนแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒  มาตรา  ๓  ได้กำาหนดคำานิยามของ “สิทธิมนุษยชน”  โดย

                     หมายความว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับ
                     การรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตาม

                     สนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม”  จะเห็นได้ว่า  การชุมนุมถือว่าเป็น
                     เสรีภาพประเภทหนึ่งของบุคคล และอยู่ในความหมายของ “สิทธิมนุษยชน” ตามที่พระราชบัญญัติ

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติไว้

                                          จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช
                     ๒๕๕๐  มาตรา ๖๓ ข้างต้น  จะเห็นได้ว่า  รัฐธรรมนูญได้รับรองและคุ้มครองให้บุคคลสามารถ

                     ใช้เสรีภาพในการชุมนุม เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้ตามเจตจำานง เช่น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
                     ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การเรียกร้องประโยชน์บางประการจากรัฐ เป็นต้น ซึ่งรัฐธรรมนูญ

                     ได้กำาหนดหลักเกณฑ์ของการใช้เสรีภาพดังกล่าวไว้ในสองประการสำาคัญ  กล่าวคือ ประการที่หนึ่ง
                     การชุมนุมนั้นต้องเป็นไปด้วยความสงบ คือ ไม่มีการกระทำาใดที่ขัดต่อความเรียบร้อยของบ้านเมือง

                     และประการที่สอง  การชุมนุมนั้นต้องปราศจากอาวุธหรือสิ่งเทียมอาวุธ (ตามประมวลกฎหมาย
                     อาญา  “อาวุธ” หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้

                     ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ)  คือ ภายในอาณาบริเวณของการชุมนุมนั้น
                     จะต้องไม่มีการพกพาหรือซุกซ่อนอาวุธ  ซึ่งรวมไปถึงการใช้อาวุธดังกล่าวด้วย  อันเป็นมาตรการ

                     ในการป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ชุมนุมและประชาชนอื่นที่
                     ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมนั้น

                                          บทเรียนจากการชุมนุม ในปี ๒๕๕๓  ชี้ให้เห็นชัดว่า  ผู้ชุมนุมขาดความ
                     เข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเรื่องใหม่  นอกจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการรู้เท่า

                     ไม่ถึงการณ์แล้ว  การพิจารณาเรื่องผลกระทบของการชุมนุมต้องพิจารณาจากผลกระทบทางตรง

                     (ผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ)  และทางอ้อม (การเมือง เศรษฐกิจ) รวมทั้งผลกระทบในระยะสั้น
                     และระยะยาวด้วย

                                          หลังจากการเคลื่อนขบวนและขยายพื้นที่ชุมนุม  ยังปรากฏการกระทำาของ
                     กลุ่ม นปช. เกิดขึ้นอีกหลายเหตุการณ์  เช่น การเทเลือดที่หน้าบ้านพักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

                     และที่ทำาการพรรคประชาธิปัตย์  หน้ารัฐสภา  การใช้เครื่องขยายเสียงที่ดังในพื้นที่การชุมนุม
                     การเคลื่อนขบวนไปตามหน่วยงานต่างๆ  และเชิญชวนประชาชนให้เข้าร่วมในการชุมนุม  การบุก

                     เข้าไปตรวจค้นในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  การนำาเด็กและสตรีรวมถึงพระภิกษุไปอยู่แนวหน้า
                     ของการชุมนุมในลักษณะเป็นโล่มนุษย์  การสร้างแนวป้องกันการชุมนุม (บังเกอร์) ด้วยไม้ไผ่

                     และยางรถยนต์  การปลุกระดมและยั่วยุให้ผู้ชุมนุมสร้างความรุนแรงและเผาทำาลายทรัพย์สิน
                     การเกิดเหตุจลาจลหลังจากที่แกนนำามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำารวจ เป็นต้น  ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ได้

                     กล่าวข้างต้นนี้  ถือเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น รวมถึง




                                                            79
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86