Page 80 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 80

ชัดเจนว่า  ในระยะต้น แกนนำาสามารถใช้ยุทธวิธีควบคุมฝูงชน  แต่ในระยะหลัง มีการแยกกัน

                  ดำาเนินงานและขยายพื้นที่ชุมนุม  จนกระทั่งแกนนำาไม่สามารถควบคุมผู้ชุมนุมให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์
                  หรืออุดมการณ์ที่มีตั้งแต่แรกร่วมกันได้  เป็นเหตุให้รัฐบาลใช้เป็นเหตุผลหรือข้ออ้างในการใช้กำาลัง

                  เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าควบคุมสถานการณ์ในเวลาต่อมา
                                        หลังเหตุการณ์ วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓  เกิดการแยกตัวของแกนนำา

                  และจากการที่กลุ่ม นปช. สามารถระดมกำาลังคนได้เป็นจำานวนมาก  การจัดการชุมนุมที่มีขนาดใหญ่
                  โดยมีแกนนำาหลายคน  จึงขาดการวางแผนที่รัดกุม ขาดอุดมการณ์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน

                  ร่วมกัน ทำาให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนตัวของผู้ชุมนุมได้อย่างรัดกุมทุกขั้นตอน  ทำาให้
                  การชุมนุมกลายเป็นการจลาจลในที่สุด  และสุดท้ายแกนนำาได้แยกเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่มอย่าง

                  ชัดเจน  โดยมีแกนนำาบางคนได้ถอนตัวในระหว่างการชุมนุม  แสดงให้เห็นถึงความเห็นต่างและ
                  ความรับผิดชอบของแกนนำาเมื่อสถานการณ์วิกฤติจนความรุนแรงเกิดขึ้น  แกนนำาต้องตัดสินใจยุติ

                  การชุมนุม เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
                                        หลักการของการใช้เสรีภาพในการชุมนุม  นอกจากจะบัญญัติไว้ใน

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐ แล้ว  ยังปรากฏอยู่ในกติการะหว่าง
                  ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  อันเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทย

                  เป็นภาคี  และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรืออนุวัตรกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับ ข้อ ๒๑ ที่กำาหนดว่า
                  สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง  การจำากัดการใช้สิทธินี้จะกระทำามิได้  นอกจาก

                  จะกำาหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำาเป็นสำาหรับสังคมประชาธิปไตย  เพื่อประโยชน์แห่ง
                  ความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของ

                  ประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ซึ่งจะพบว่า หลักการที่รัฐธรรมนูญ
                  แห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  มีลักษณะสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ

                  กล่าวคือ การชุมนุมต้องเป็นไปด้วยความสงบ และต้องไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
                  นอกจากนี้  การชุมนุมยังเป็นเสรีภาพที่สามารถจำากัดได้โดยอาศัยอำานาจของรัฐ  ผ่านบทบัญญัติ

                  ของกฎหมายและเท่าที่จำาเป็นเท่านั้น

                                   (๒)  ผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมชุมนุมต้องมีหน้าที่ร่วมกัน ทำาให้การชุมนุมเป็นไป
                                        โดยสงบและปราศจากอาวุธ  ยึดแนวทางสันติวิธีและเจรจาไกล่เกลี่ย

                                        ไม่ปลุกระดม  อีกทั้งการชุมนุมนั้นต้องปราศจากอาวุธหรือสิ่งเทียมอาวุธ
                                        ทุกชนิดในพื้นที่การชุมนุม  รวมถึง ไม่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์หรือยั่วยุ

                                        ให้เกิดความรุนแรงทุกประเภท

                                        บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐
                  มาตรา ๖๓  วรรคหนึ่ง  บัญญัติว่า  “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจาก
                  อาวุธ”  เมื่อนำาไปพิจารณาประกอบกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิ





                                                         78
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85