Page 79 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 79

เพราะเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ตามที่รัฐธรรมนูญกำาหนดในมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง และตาม

                     กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๒ (๓) (ก) ที่กำาหนดว่า
                     “รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะ (ก) ประกันว่าบุคคลใดที่สิทธิหรือเสรีภาพของตน ซึ่งรับรองไว้

                     ในกติกานี้ถูกละเมิดต้องได้รับการเยียวยาอย่างเป็นผลจริงจัง  โดยไม่ต้องคำานึงว่าการละเมิดนั้น
                     จะถูกกระทำาโดยบุคคลผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่”  ซึ่งนอกจากรัฐบาลมีหน้าที่ต้องเยียวยาความ

                     เสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้แล้ว  รัฐบาลยังมีหน้าที่ในการที่จะต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงและหา
                     ผู้กระทำาผิดมาดำาเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม  รวมทั้งตรวจสอบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้หนึ่ง

                     ผู้ใดหรือไม่ที่ได้กระทำาการเกินขอบเขตของมาตรการที่รัฐบาลโดย ศอฉ. ได้กำาหนดไว้หรือไม่
                     อย่างไรด้วย  ซึ่งในประเด็นการเสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์การชุมนุมทั้งหมดนั้น  รัฐบาล

                     ได้มีมาตรการชดใช้เยียวยาแล้วบางส่วนตามมติคณะรัฐมนตรี

                                      ส่วนกรณีการดำาเนินคดี กรณี เสียชีวิต ๖ ศพในวัดปทุมวนารามฯ นั้น เป็น
                     หน้าที่ของรัฐที่ต้องดำาเนินการตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป  ซึ่งกรณีนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ

                     ได้รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษและตั้งเป็นสำานวนคดีอาญา  คดีอยู่ในขั้นตอนการไต่สวนของศาล
                     อาญากรุงเทพใต้  โดยมีการนัดไต่สวนเริ่มตั้งแต่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ – ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖

                     เห็นว่า เมื่อกรณีเป็นการไต่สวนในชั้นศาลแล้ว  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงไม่อาจ
                     ก้าวล่วงมีคำาวินิจฉัยในประเด็นนี้






                     ๕.  บทสรุป


                               ๕.๑   บทเรียน

                                      คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า  จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสมควร
                     ที่จะต้องพิจารณาและสร้างบทเรียนให้แก่สังคมได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการ

                     ชุมนุม และการใช้อำานาจของรัฐเพื่อการบริหารจัดการการชุมนุม  โดยมุ่งหวังว่าในอนาคตจะไม่ก่อ
                     ให้เกิดปัญหาและความสูญเสียในลักษณะนี้อีก  ทั้งนี้ มีประเด็นที่ควรพิจารณาและสร้างความเข้าใจ

                     ให้กับสังคม ดังนี้

                                      ๕.๑.๑ บทเรียนภาคประชาชน
                                      บทเรียนที่สำาคัญสำาหรับผู้ชุมนุม พอสรุปเป็นหัวข้อได้ ดังนี้


                                      (๑)  ผู้จัดการชุมนุมจะต้องสร้างเจตจำานงร่วมกันในการชุมนุมโดยสงบและสันติ
                                          ตลอดจนดูแลให้มีอุดมการณ์ที่ถูกต้องในการรักษาระบอบการปกครองใน
                                          ระบอบประชาธิปไตย

                                          จากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๓ เห็นได้




                                                            77
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84