Page 78 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 78

จากสถานการณ์การยิงปะทะกันในบริเวณพื้นที่ชุมนุม และพื้นที่โดยรอบ

                  ในสภาพการบ้านเมืองที่ยังวุ่นวายไม่สงบดังกล่าว  ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต ๖ ศพ และบาดเจ็บ ๗ คน
                  บริเวณวัดปทุมวนารามฯ  ซึ่งการสูญเสียชีวิตดังกล่าวทั้ง ๖ ศพ  ปรากฏจากการรวบรวมหลักฐาน

                  ในชั้นนี้ ทั้งพยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคลที่มีความสอดคล้องกันว่า ในช่วงเวลาบ่าย
                      ่
                  ถึงคำาของวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓  มีเจ้าหน้าที่ทหารประจำาการบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส
                  ตลอดเวลา  และในช่วงเวลาดังกล่าวมีเสียงปืนจากการยิงปะทะ  จนในเวลาต่อมาปรากฏว่า
                  มีผู้เสียชีวิต ๖ ศพ แม้จะไม่มีพยานยืนยันที่ปรากฏชัดว่า ศพของผู้เสียชีวิตบางศพได้เสียชีวิต

                  นอกวัด  บางศพเสียชีวิตหน้าวัด  และบางศพไม่รู้ว่าเสียชีวิตบริเวณใด  แต่ศพทั้ง ๖ ศพได้ถูก
                  เคลื่อนย้ายเข้าไปในวัดภายหลังที่ถูกยิงเสียชีวิตแล้ว  โดยไม่มีการตรวจสอบรวบรวมหลักฐาน

                  ให้ทราบถึงลักษณะพฤติการณ์แห่งการตาย (Manner of death) ว่ามีการยิงมาจากที่ใด  คงมีเพียง
                  หลักฐานรายงานการชันสูตรศพ ทั้ง ๖ ศพ ของสถาบันนิติเวชวิทยา  สำานักงานตำารวจแห่งชาติ

                  แสดงให้ทราบเพียงสาเหตุแห่งการตาย (Cause of death) ว่า  ผู้ตายเสียชีวิตเพราะถูกกระสุนปืน
                  ยิงเข้าที่อวัยวะสำาคัญส่วนใดเท่านั้น  ซึ่งสภาพศพต่างก็มีผลทิศทางกระสุนปืนและบาดแผลที่

                  แตกต่างกัน  คงสรุปได้ว่า ถูกยิงในระยะเกินมือเอื้อม ไม่อาจรู้ถึงระยะใดเพียงใด  ดังที่พยานแพทย์
                  ผู้เชี่ยวชาญทางนิติเวชได้ให้ความเห็นไว้  แต่อย่างไรก็ตาม จากลักษณะทิศทางของกระสุนที่

                  ปรากฏบนศพบางศพ มีลักษณะถูกยิงจากบนลงล่าง ซึ่งน่าจะสันนิษฐานได้ว่า ผู้ยิงอยู่ในตำาแหน่ง
                  ที่สูงกว่า  และเมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่บนราง

                  รถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมวนารามฯ  รวมถึงภาพถ่ายร่องรอยกระสุนปืนบนรถยนต์และพื้นถนนภายใน
                  วัดปทุมวนารามฯ  จึงน่าเชื่อได้ว่าความเสียหายกรณีการเสียชีวิตและบาดเจ็บนั้น  ส่วนหนึ่งย่อม

                  เกิดขึ้นจากการกระทำาของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติการกระชับพื้นที่ในที่เกิดเหตุบริเวณวัด
                  ปทุมวนารามฯ ในวันดังกล่าว

                                   อนึ่ง เมื่อมาตรการที่รัฐบาลกำาหนดปฏิบัติการนั้นเป็นกรณีจำาเป็นสมควรตาม

                  กฎหมาย  แต่ในทางปฏิบัติได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว  และความเสียหายนั้นเกิดจากสถานการณ์
                  ยิงปะทะที่วุ่นวายระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ติดอาวุธที่แฝงตัวในที่ชุมนุม  ความเสียหายส่วนหนึ่ง

                  ย่อมอาจเกิดจากการกระทำาของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย  การดำาเนินการดังกล่าวของรัฐบาลจึงส่ง
                  ผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย  ซึ่งรัฐมีหน้าที่ในการประกันและคุ้มครองดูแล

                  แต่กลับไม่สามารถมีมาตรการหรือใช้วิธีการในการประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ
                  บุคคลได้  รัฐบาลจึงไม่อาจปฏิเสธการที่จะต้องเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวแก่

                  ผู้บาดเจ็บและครอบครัวของผู้บาดเจ็บที่พิการและครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว
                  ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดแก่ผู้ชุมนุม ประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  เพราะรัฐบาล

                  มีหน้าที่ในการให้หลักประกันในการคุ้มครองชีวิตร่างกายบุคคลในรัฐ  เพื่อให้อยู่ได้อย่างปลอดภัย
                  มั่นคง  ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะได้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของผู้ปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม





                                                         76
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83