Page 59 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 59

ดำาเนินคดีและรับโทษตามกฎหมาย  รวมทั้ง รัฐบาลควรดำาเนินการให้มีการเยียวยาผู้เสียหาย

                     จากเหตุการณ์ดังกล่าวต่อไปอีกด้วย



                               ๔.๖  กรณีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.  บริเวณรอบโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
                     สภากาชาดไทย  และการเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓


                                      ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้

                                      จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า  ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓
                     เป็นต้นมา  การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ได้ขยายวงกว้างไปถึงถนนราชดำาริ

                     บริเวณสวนลุมพินีและข้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  ทำาให้การทำางานของบุคลากรทางการแพทย์
                     ผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.

                     ด้านถนนราชดำาริมาอย่างต่อเนื่อง  ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งเรื่องมลภาวะทางเสียงที่รบกวน
                     ผู้ป่วยที่รักษาตัวในอาคารต่างๆ ที่อยู่ติดกับถนนราชดำาริ  มีการตั้งด่านวางยางรถยนต์และไม้ไผ่

                     ปิดกั้นกีดขวางทางเข้า - ออกโรงพยาบาล ตรวจค้นกระเป๋าของผู้ที่จะเดินทางเข้า - ออกโรงพยาบาล
                     เข้าไปใช้พื้นที่ด้านหน้าอาคาร ภปร.  ภายในบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อชุมนุมในเวลา

                     กลางคืน  ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเข้ามาเดินในโรงพยาบาลในยามวิกาล  ตรวจค้นอาคารของโรงพยาบาล
                     นอกจากนี้ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ นายแพทย์รัฐพลี ภาคอรรถ ผู้ช่วยผู้อำานวยการ

                     โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้านผู้ป่วยวิกฤติ  ได้เข้าไปเดินดูภายในบริเวณพื้นที่ชุมนุมของกลุ่ม นปช.
                     รอบโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบถังแก๊สจำานวน ๕ ถัง บริเวณข้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

                     ฝั่งถนนราชดำาริ  เกรงว่าหากเกิดระเบิดขึ้นจะมีรัศมีการทำาลายเป็นบริเวณกว้าง เพื่อความ
                     ปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงมีความจำาเป็นต้องย้ายผู้ป่วยออกจากอาคาร ภปร.

                     และอาคาร สก. อย่างเร่งด่วนให้เสร็จสิ้น ในคืนวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓
                                      ในช่วงเย็นวันที่ ๒๙ เมษายน  ๒๕๕๓  นายพายัพ  ปั้นเกตุ หนึ่งในแกนนำา นปช.

                     ได้ระบุในการแถลงข่าวประจำาวัน  พร้อมแกนนำา นปช. อีกสองคน คือ นายจตุพร  พรหมพันธุ์ และ
                     นายแพทย์เหวง  โตจิราการ ว่าจะนำาการ์ดและผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช.ไปที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

                     เพราะเชื่อว่ามีทหารจำานวนหนึ่งอยู่ในอาคาร สก. และสื่อมวลชนได้ซักถามนายพายัพฯ ว่ามีข้อมูล
                     อะไรที่ยืนยันเรื่องนี้ได้ แต่ไม่ได้รับคำาตอบ

                                      เมื่อเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. ของวันเดียวกัน นายพายัพฯ ได้นำาการ์ดและ
                     ผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. พร้อมทั้งคณะสื่อมวลชน ไปถึงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์บริเวณทางเข้าอาคาร

                     ฉุกเฉิน  โดยมีพันจ่าอากาศเอก วีระชัยฯ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงานอาคารและหัวหน้าพนักงานรักษา
                     ความปลอดภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  พยายามเจรจากับนายพายัพฯ  และชี้แจงยืนยัน

                     ว่าภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารหลบซ่อนอยู่  หลังจากพูดคุยกันประมาณ
                     ครึ่งชั่วโมง  กลุ่ม นปช.ไม่เชื่อและกล่าวหาว่า เป็นการถ่วงเวลาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทหารหลบหนี




                                                            57
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64