Page 56 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 56

ซ้อนท้ายล้มลง  จากการพิสูจน์บาดแผลของผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต  ปรากฏว่า ผู้เสียชีวิต

                  เป็นเจ้าหน้าที่ทหารถูกยิงด้วยปืนกระสุนจริงบริเวณศีรษะ  และผู้บาดเจ็บหลายรายก็ถูกยิงด้วย
                  ปืนกระสุนจริงเช่นกัน  แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการยิงจากฝ่ายใด หรือใครเป็นผู้ยิง หรือยิง

                  จากบริเวณใด
                                   สุดท้ายเหตุการณ์ปะทะกันครั้งนี้จึงยุติลง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ได้สลายตัว

                  ไปเมื่อเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น.  จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต จำานวน ๑ นาย
                  และได้รับบาดเจ็บ จำานวน ๓ นาย  ประชาชนได้รับบาดเจ็บ จำานวน ๑๖ ราย

                                   ในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้  สถานีตำารวจภูธรคูคตได้จับกุมผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช.
                  จำานวน ๗ คน ได้ที่บริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา ตรงข้ามอนุสรณ์สถานแห่งชาติ  พร้อมยึด

                  ของกลาง ได้แก่ ไม้ง่าม หนังสติ๊ก ลูกแก้ว หัวน๊อต สำาเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของผู้ชุมนุม
                  รายหนึ่ง  ต่อมา ศาลได้พิพากษาจำาคุกจำาเลย ๖ คน ในความผิดฐานฝ่าฝืนพระราชกำาหนดการ

                  บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คนละ ๔ เดือน  จำาเลยให้การรับสารภาพ
                  ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงเหลือจำาคุกคนละ ๒ เดือน

                                   นอกจากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. กับเจ้าหน้าที่ทหาร
                  แล้วนั้น  จากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำารวจ  ยังได้ตรวจพบผู้ต้อง

                  สงสัยขับขี่รถจักรยานยนต์มาตามช่องทางขาเข้าบริเวณทางเข้าฐานทัพอากาศดอนเมือง  เมื่อพบ
                  เจ้าหน้าที่จึงทิ้งรถและหลบหนีไป  ตรวจพบลูกระเบิดเอ็ม ๗๙ จำานวน ๖๒ ลูก อยู่ในกระเป๋าเป้

                  พร้อมบัตรประจำาตัวประชาชน  ทราบภายหลังว่า บุคคลดังกล่าวเป็นตำารวจสังกัดสถานีตำารวจภูธร
                  ลำาลูกกา (ซึ่งต่อมาได้เข้ามอบตัวและถูกส่งฟ้องดำาเนินคดีต่อศาลจังหวัดธัญบุรี)

                                   ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้รวบรวมข้อมูล
                  ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.  ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ มี

                  ผู้บาดเจ็บ จำานวน ๒๐ คน (พลเรือน ๑๘ คน  เจ้าหน้าที่ทหาร ๒ คน) มีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต
                  จำานวน ๑ นาย  รวมผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งหมด ๒๑ คน


                                   ความเห็น
                                   ประเด็นที่ต้องพิจารณามีว่า  การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการตั้ง

                  ด่านสกัดกั้นกลุ่ม นปช. เพื่อขัดขวางมิให้เคลื่อนขบวนไปยังตลาดไท เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓
                  จนกระทั่งเกิดการใช้ความรุนแรงปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช. กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเหตุให้มี

                  ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต นั้น  เป็นการกระทำาที่มีกฎหมายให้อำานาจดำาเนินการ หรือไม่  และเจ้าหน้าที่
                  ของรัฐได้ดำาเนินการให้ถูกต้องเหมาะสมตามกฎหมาย ระเบียบ หรือขั้นตอนในการควบคุมฝูงชน

                  แล้วหรือไม่
                                   พิจารณาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า  บทบัญญัติของ

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๒๙  และมาตรา ๖๓ วรรคสอง




                                                         54
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61