Page 61 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 61
กาชาด สถานพยาบาล การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ และสิทธิของผู้บาดเจ็บและ
ผู้ป่วย เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ ด้วย
ความเห็น
ประเด็นที่ต้องพิจารณามีว่า การชุมนุมของกลุ่ม นปช. บริเวณรอบโรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่ได้รับการรับรองและคุ้มครอง
ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการที่กลุ่ม นปช. เข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่
๒๙ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
พิจารณาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นพยานกลางที่ไม่มีส่วน
ได้เสียในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่ม นปช. เห็นว่า การที่กลุ่ม นปช. ได้ขยายพื้นที่การชุมนุมจาก
สี่แยกราชประสงค์มาจนถึงถนนราชดำาริ บริเวณสวนลุมพินี และข้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ทำาให้ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยได้รับผล
กระทบจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ด้านถนนราชดำาริมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน
๒๕๕๓ เป็นต้นมา ทั้งเรื่องมลภาวะทางเสียงที่รบกวนผู้ป่วยที่รักษาตัวในอาคารต่างๆ ที่อยู่ติด
กับถนนราชดำาริ การตั้งด่านปิดกั้นกีดขวางทางเข้า - ออกโรงพยาบาล การตรวจค้นกระเป๋าของ
่
ผู้ที่จะเดินทางเข้า - ออกโรงพยาบาล การเข้าไปใช้พื้นที่ด้านหน้าตึก ภปร. เพื่อชุมนุมในยามคำาคืน
การขอเข้าไปตรวจค้นอาคารของโรงพยาบาล การจุดประทัดที่มีเสียงคล้ายปืน การตั้งถังแก๊ส
จำานวน ๕ ถัง บริเวณติดกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฝั่งถนนราชดำาริ หากเกิดระเบิดขึ้นจะมีรัศมี
การทำาลายเป็นบริเวณกว้าง เป็นเหตุให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ต้องย้ายผู้ป่วยออกจากอาคาร
ภปร. และอาคาร สก. ซึ่งเป็นอาคารอยู่ใกล้กับการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ฝั่งถนนราชดำาริ เพื่อความ
ปลอดภัยของผู้ป่วย เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ป่วย ตลอดจนแพทย์
พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอย่างรุนแรง
โดยที่เสรีภาพของบุคคลในการชุมนุมซึ่งจะได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓ นั้น จะต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบและ
ปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การใช้เสรีภาพดังกล่าวยังต้องกระทำาภายใต้หลักของการใช้สิทธิ
และเสรีภาพโดยไม่ก้าวล่วงในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วย
ดังนั้น การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในบริเวณติดกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทย จึงเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมที่มีขอบข่ายที่กว้างขวางเกินจำาเป็น รวมทั้ง
ย่อมเล็งเห็นได้อยู่แล้วว่าจะเป็นการรบกวนความเป็นอยู่และอาจเกิดอันตรายกับผู้ป่วย อันเป็นการ
ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในชีวิตและร่างกายและสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข
อีกทั้งยังเป็นการสร้างความหวาดกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเดินทางและการปฏิบัติหน้าที่
ของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ในการทำาหน้าที่ช่วยเหลือชีวิตบุคคลอื่น อันเป็น
59
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓