Page 64 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 64

ตามเส้นทางโดยรอบ  เพื่อสกัดกั้นมิให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์  และให้

                  ผู้ชุมนุมเดินทางออกได้เท่านั้น  โดยพยานบุคคลหลายรายต่างให้การสอดคล้องต้องกันว่า  มีการ
                  ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์และบริเวณใกล้เคียง

                  โดยรอบ  โดยเฉพาะบริเวณบ่อนไก่ ถนนพระราม ๔ ซอยงามดูพลี สวนลุมพินี และถนนราชปรารภ
                  มีการขนเอายางรถยนต์เป็นบังเกอร์  จุดไฟเผาบริเวณกลางถนน ใช้อาวุธปืนยิง เผาอาคาร เผา

                  ธนาคาร ปล้นทรัพย์ร้านค้า ตลอดจนเผารถยนต์ของราชการ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ทหารและประชาชน
                  ได้รับบาดเจ็บและบางรายเสียชีวิต  ขณะที่พยานอีกหลายรายได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงด้วย

                  กระสุนปืนด้วยเช่นกัน  แต่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดยิง

                                   ต่อมา ศอฉ. ได้เพิ่มมาตรการโดยเพิ่มด่านตรวจและจุดตรวจบริเวณถนน
                  ราชปรารภ (ปากซอยหมอเหล็ง)  ถนนเพชรบุรี (แยกราชเทวีและแยกมิตรสัมพันธ์)  ถนนพระราม ๑

                  (หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ)  ถนนสุขุมวิท (ใต้ทางด่วนถึงซอยสุขุมวิท ๙) และถนนพระราม ๔ (แยก
                  วิทยุ  แยกอังรีดูนังต์  และแยกสามย่าน)  เพื่อปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมและใช้มาตรการตัดบริการ

                  สาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และระบบขนส่งมวลชน  ตั้งแต่เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น.
                  ปิดล้อมเส้นทางโดยรอบสี่แยกราชประสงค์  และโดย ศอฉ. กำาหนดให้เจ้าหน้าที่ทหารสามารถ

                  ใช้มาตรการอันสมควรเพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันชีวิตตนเอง  โดยเจ้าหน้าที่ทหารสามารถ
                  ใช้อาวุธปืนเพื่อป้องกันตนเองได้ มีการแจ้งเตือนให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ชุมนุม กระทั่งเวลาประมาณ

                  ๑๙.๐๐ น.  เกิดเหตุคนร้ายลอบยิง พลตรี ขัตติยะ  สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก  ขณะให้
                  สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาล ที่ ๖ สวนลุมพินี  หลังจากนั้น

                  เกิดการตอบโต้อย่างรุนแรงจากการ์ด นปช. และเกิดการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง
                                   ศอฉ. ให้ข้อเท็จจริงว่า  ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ตั้งด่านตรวจปิดล้อม

                  พื้นที่แล้ว  กลับปรากฏว่ามีมวลชนกลุ่ม นปช. และกองกำาลังติดอาวุธไปรวมตัวกันล้อมเจ้าหน้าที่

                  และพยายามโจมตีทำาร้ายเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจด้วยอาวุธต่างๆ ได้แก่ ปืนเล็กยาว ระเบิดขว้าง
                  ปืนพก เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม ๗๙ เครื่องยิงจรวดอาร์พีจีแสวงเครื่อง ระเบิดปิงปอง ระเบิดเพลิง
                  ตลอดจนสิ่งเทียมอาวุธอีกหลายชนิด  มีการนำายางรถยนต์มาเรียงตั้งเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่

                  และจุดไฟเผา ทั้งกลางวันและกลางคืน  ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงจำาเป็นต้องใช้มาตรการอันสมควร

                  เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ตั้ง และป้องกันชีวิตตนเอง โดยการวางแนวป้องกันไว้ห่างจากที่ตั้ง
                  ร่วมกับการจัดส่วนระวังป้องกันออกไปเฝ้าระวังทั้งภาคพื้นดินและบนที่สูงในระยะที่สามารถระวัง
                  ป้องกันมิให้กลุ่มติดอาวุธสามารถใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ได้

                                   วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เหตุการณ์บริเวณถนนพระราม ที่ ๔ พยานบุคคล

                  หลายรายให้ถ้อยคำาสอดคล้องกันว่า  ช่วงเวลากลางวัน เจ้าหน้าที่ทหารได้ตั้งแถวปิดถนนพระราม
                  ที่ ๔ ที่จะมุ่งหน้าไปยังสวนลุมพินี  ทำาให้ยานพาหนะที่ขับขี่มาจากทางด้านคลองเตยไม่สามารถ

                  ผ่านไปได้  ทำาให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้มีการแจ้งประชาสัมพันธ์




                                                         62
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69