Page 54 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 54
มีหน้าที่ที่จะต้องสืบสวนสอบสวน เพื่อหาตัวผู้กระทำาความผิดมาดำาเนินคดีและรับโทษตามกฎหมาย
ต่อไป
สำาหรับประเด็นที่สองที่ต้องพิจารณาว่า การกระทำาของผู้ชุมนุมเป็นการใช้
สิทธิและเสรีภาพที่เกินขอบเขตตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้หรือไม่ นั้น
เห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นมีพยานหลักฐานแสดงให้เชื่อได้ว่า
การชุมนุมของกลุ่ม นปช. เป็นการชุมนุมที่ส่งผลทำาให้เกิดความรุนแรง การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ
และทรัพย์สินได้รับความเสียหายต่อเนื่องมาโดยตลอด และในคืนวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓
มีพยานบุคคลที่เห็นว่า ลูกระเบิดเอ็ม ๗๙ ถูกยิงมาจากทิศทางและบริเวณที่กลุ่ม นปช. ใช้เป็น
ที่ชุมนุม และยังมีพยานบุคคลที่ได้ยินแกนนำาของกลุ่ม นปช. ประกาศผ่านทางเครื่องขยายเสียง
ในทำานองที่ทำาให้เข้าใจได้ว่า แกนนำาของกลุ่ม นปช. รับรู้ล่วงหน้าแล้วว่าจะมีเหตุการณ์อันตราย
ที่อาจถึงแก่ชีวิตเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าวและในช่วงระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งภายหลังก็ปรากฏว่า
เจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ติดตามจับกุมนายเจ็มส์ สิงห์สิทธิ์ ซึ่งเป็นคนสนิทของ
พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ. แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก หนึ่งในแกนนำาของกลุ่ม นปช.
โดยที่คดีดังกล่าวนายเจ็มส์ สิงห์สิทธิ์ ไม่ได้รับสารภาพ และปัจจุบันคดียังอยู่ในระหว่างการ
พิจารณาของศาลอาญา
นอกจากนี้ การที่กลุ่ม นปช. มีการจุดพลุ ตะไล และประทัด ย่อมทำาให้เห็น
ได้ว่า เป็นการกระทำาเพื่อประโยชน์ในการอำาพรางหรือบิดเบือนเสียงการยิงลูกระเบิดเอ็ม ๗๙
จนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บดังกล่าว ทั้งนี้ การจุดพลุ ตะไล และประทัด เพื่อข่มขู่กลุ่มผู้ชุมนุม
เสื้อหลากสี และประชาชนทั่วไปนั้น ย่อมถือเป็นการกระทำาที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย เกิดเสียงดัง
สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ทั้งที่บริเวณดังกล่าวอยู่ติดกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่
ที่ควรให้ความเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในชีวิตและร่างกายของผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่
รวมทั้งคำานึงถึงหลักมนุษยธรรม โดยไม่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในการ
รักษาพยาบาล ดูแล และการนำาส่งหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าในเหตุการณ์นี้ การชุมนุมของกลุ่ม นปช. บริเวณแยก
ศาลาแดง มีการกระทำา หรือร่วมมือ หรือให้การสนับสนุนให้มีการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิ
และเสรีภาพของบุคคลในชีวิต ร่างกาย และสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งเป็นการกระทำาที่ไม่
เคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและ
ร่างกาย...” การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในเหตุการณ์นี้ จึงเป็นการชุมนุมที่เกินกว่าสิทธิและเสรีภาพ
ที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการชุมนุมที่สงบและปราศจากอาวุธตามที่รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓ ได้บัญญัติไว้ ทั้งยังเป็นการชุมนุม
ที่มีการกระทำาอันเป็นความผิดกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหลายประการ ตลอดจนผลของความ
52
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓