Page 58 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 58
หลักการจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญกำาหนดไว้แล้ว โดยในการดำาเนินการ
บังคับใช้กฎหมายหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเหตุการณ์นี้ เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติ
ตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก และใช้เครื่องขยายเสียงแจ้งให้กลุ่ม นปช. ทราบถึงการปฏิบัติ
ในทุกขั้นตอนแล้ว จนกระทั่งในที่สุด เจ้าหน้าที่มีความจำาเป็นต้องใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเอง
และปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า
ผลจากการปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช. กับเจ้าหน้าที่ทหารในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การที่มีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต ๑ นาย จากอาวุธปืน และประชาชนตลอดจนเจ้าหน้าที่ทหาร
จำานวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ จึงถือได้ว่า มีการกระทำาอันเป็นการกระทบต่อสิทธิมนุษยชนต่อ
ประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งได้รับบาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต
สำาหรับการเสียชีวิตของ พลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ นั้น แม้จะปรากฏว่า
มีภาพเคลื่อนไหวจากสื่อมวลชนที่บันทึกภาพไว้ได้ แต่ก็เป็นการบันทึกภาพจากระยะไกลและมี
ความละเอียดภาพไม่ชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่ทหารที่เสียชีวิตถูกยิงขณะหันหน้าไปในทิศทางใด
ประกอบกับเจ้าหน้าที่ผู้ชันสูตรพลิกศพได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ได้มีการชันสูตรพลิกศพโดยนำาหมวก
ของเจ้าหน้าที่ทหารที่เสียชีวิตมาตรวจด้วย พบว่า กระสุนปืนทะลุหมวกเข้าขมับและฝังใน สาเหตุ
ของการเสียชีวิตมาจากกะโหลกแตก สมองถูกทำาลาย ตะกั่วกับทองแดงฝังอยู่ในกะโหลก หมวกมี
รอยทะลุ ไม่พบเขม่า แสดงว่าเป็นการยิงจากระยะไกล รอยทะลุของหมวกอยู่ด้านซ้าย
ขนาด ๐.๕ เซ็นติเมตร (๕ มิลลิเมตร) ทิศทางมาจากซ้ายไปขวา แต่ไม่จำาเป็นว่า กระสุนจะถูกยิง
มาจากทางซ้ายมือของผู้ตาย ขึ้นอยู่กับว่าขณะถูกยิง เจ้าหน้าที่ทหารผู้ตายกำาลังหันหน้าไปใน
ทิศทางใด ฉะนั้น การระบุทิศทางที่กระสุนถูกยิงมาจึงเป็นไปได้จากทุกทิศทาง สิ่งที่บอกได้
ชัดเจนจากสภาพศพนี้ คือ ถูกยิงมาในแนวระนาบเท่านั้น ซึ่งต่อมา ศาลอาญาได้มีคำาสั่งในคดี
หมายเลขดำา ที่ อช.๔/๒๕๕๕ ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา ๕ เป็นโจทก์ยื่นคำาร้องให้ไต่สวน
ชันสูตรการตายของพลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ สังกัดกองพันทหารราบที่ ๒ กองพลทหารราบ
ที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๐ โดยศาล
พิเคราะห์แล้วมีคำาสั่งว่าผู้ตาย คือ พลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ เสียชีวิตที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต
หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เขตดอนเมือง เมื่อเวลา ๑๕.๐๐ น. ของวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓
ถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ที่ยิงจากอาวุธของเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนั้น
โดยกระสุนปืนถูกที่หางคิ้วด้านซ้าย ทะลุกะโหลกศีรษะ ทำาลายเนื้อเยื่อสมองเป็นเหตุให้ถึงแก่
ความตาย ดังนั้น เมื่อกรณีเป็นการไต่สวนในชั้นศาลแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จึงไม่อาจก้าวล่วงมีคำาวินิจฉัยในประเด็นนี้
นอกจากนี้ ความเสียหายต่างๆ ดังกล่าวทั้งหมดที่เกิดขึ้น ยังถือเป็นเหตุการณ์
ที่มีการกระทำาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย ซึ่งรัฐบาลโดยสำานักงานตำารวจแห่งชาติ
หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษมีหน้าที่ที่จะต้องสืบสวนสอบสวน เพื่อหาตัวผู้กระทำาความผิดมา
56
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓