Page 63 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 63

๑๐๐ คน ได้ร่วมกันบุกเข้าไปภายในบริเวณพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  โดยแกนนำาไม่

                     สามารถควบคุมได้  และเข้าไปตรวจค้นที่อาคาร สก.  รวมทั้งมีการงัดทำาลายประตูกระจกของ
                     อาคาร สก. จนได้รับความเสียหาย  จึงถือได้ว่าการกระทำาดังกล่าวของกลุ่ม นปช. มีลักษณะเป็น

                     การร่วมกันบุกรุกสถานที่ราชการในยามวิกาล  และงัดทำาลายประตูกระจกของอาคาร สก. จึงเป็น
                     การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอื่น  ซึ่งเป็นทรัพย์สินของทางราชการที่ใช้และมีไว้เพื่อ

                     ประโยชน์สาธารณะ

                                      เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ไม่มั่นใจ
                     ในความปลอดภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีกต่อไป  จนทำาให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัดสินใจ

                     ย้ายผู้ป่วยในทั้งหมดไปที่โรงพยาบาลอื่น  จึงเห็นได้ว่า การกระทำาดังกล่าวของกลุ่ม นปช. เป็นการ
                     กระทำาที่ไม่เคารพและละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ทำาให้บุคลากรทางการแพทย์

                     เกิดความหวาดกลัวและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย จนไม่สามารถช่วยเหลือ ดูแล รักษาผู้ป่วย
                     และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่  ขณะเดียวกันยังเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนที่จะได้รับ

                     การรักษาพยาบาล  ทั้งเป็นการกระทำาที่ละเมิดต่อหลักมนุษยธรรม  ซึ่งเป็นกติกาสากลที่
                     สังคมอารยะพึงยึดถือ  ที่แม้ในยามสงครามหรือความขัดแย้งสู้รบระหว่างประเทศ โรงพยาบาล

                     รถพยาบาลเครื่องมือทางการแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ ต้องได้รับการคุ้มครองจากทุกฝ่าย
                     ให้มีความปลอดภัยและสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามหลักมนุษยธรรมได้อย่างเต็มที่  นอกจากนี้

                     ทุกฝ่ายยังต้องเคารพเครื่องหมายกาชาด  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลอันหมายถึง การให้ความ
                     ช่วยเหลือด้านการแพทย์และมนุษยธรรมอย่างเป็นกลางโดยไม่เลือกปฏิบัติ  ดังนั้น การกระทำา

                     ของกลุ่ม นปช.ในกรณีนี้  จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  และยังเป็นการกระทำาที่ควรมี
                     การสืบสวนสอบสวนผู้มีส่วนร่วมในการกระทำาดังกล่าวตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อไป




                               ๔.๗  กรณีการเกิดเหตุจลาจล ปะทะ และทำาลายทรัพย์สินของราชการและเอกชน
                     ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓


                                      ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้


                                      จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยสรุปว่า  เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม
                     ๒๕๕๓  ศอฉ. ได้ประชุมและมีมติว่า จำาเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆ ในพื้นที่การชุมนุมอย่างเต็ม
                                                                                   ้
                     รูปแบบตามขั้นตอน  โดยเริ่มต้นจากวิธีการที่ไม่ใช้กำาลัง คือ ใช้วิธีการตัดนำา ตัดไฟ สาธารณูปโภค
                                                                                         ้
                     โทรศัพท์ ยุติการเดินทางโดยการใช้บริการสาธารณะ รถเมล์ รถไฟฟ้า เส้นทางนำาคลองแสนแสบ
                     และปิดล้อมเส้นทางเข้า - ออก พื้นที่ชุมนุม เส้นทางการส่งกำาลังบำารุงให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม
                                      วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓  เวลาประมาณ ๑๒.๐๐ น.  ศอฉ. ได้แถลงใช้

                     มาตรการกดดันกระชับพื้นที่การชุมนุมอย่างเต็มรูปแบบ  ด้วยการตั้งด่านตรวจและจุดตรวจปิดล้อม




                                                            61
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68