Page 57 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 57

ประกอบกับข้อกำาหนดตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                     ข้อ ๒๑  ได้กำาหนดหลักเกณฑ์ของการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธไว้
                     โดยสรุปว่า  การจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมจะกระทำามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติ

                     แห่งกฎหมายที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใด
                     บุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงในการชุมนุมสาธารณะ  และต้องเป็นไปเพื่อคุ้มครองความสะดวก

                     ของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่
                     ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก

                     โดยการจำากัดเสรีภาพดังกล่าวต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็น  และจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่ง
                     เสรีภาพนั้นมิได้

                                      จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า  รัฐบาลได้ใช้อำานาจในการประกาศสถานการณ์
                     ฉุกเฉินตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  ตั้งแต่วันที่

                     ๗ เมษายน ๒๕๕๓  ซึ่งหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำาหนดตามกฎหมายดังกล่าว
                     มีผลทำาให้การใช้เสรีภาพในการชุมนุมถูกกระทบและจำากัดขอบเขตลง  เนื่องจากข้อบัญญัติตาม

                     ข้อกำาหนดมีผลเป็นการห้ามบุคคลในการใช้สิทธิและเสรีภาพบางประการ เช่น ห้ามมิให้มีการชุมนุม
                     ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม  ห้ามออกนอกเคหสถาน เป็นต้น  การดำาเนินการดังกล่าวจึงเป็น

                     การจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้  แต่เนื่องจากการกระทำาของรัฐบาล
                     ได้ใช้ดุลยพินิจเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ และเพื่อรักษาความ

                     เรียบร้อยในระหว่างที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน  อันเป็นข้อยกเว้นที่จะจำากัดการใช้สิทธิและ
                     เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำาหนดไว้

                                      สำาหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓  การที่รัฐบาลโดย
                     ศอฉ. ได้มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ทหารและตำารวจเข้าคลี่คลายสถานการณ์  เพื่อป้องกันมิให้

                     เกิดการกระทำาที่เป็นการจงใจละเมิดกฎหมาย  และสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไปใน
                     การใช้พื้นที่สาธารณะและเส้นทางคมนาคม  เช่นเดียวกับเหตุการณ์ในวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓

                     โดยเจ้าหน้าที่ทหารและตำารวจได้วางกำาลังสกัดกั้นขบวนของกลุ่ม นปช. บนถนนวิภาวดีรังสิต
                     ขาออก  บริเวณด้านข้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติ  และวางกำาลังควบคุมการคมนาคมโดยรอบพื้นที่

                     เพื่อป้องกันการเพิ่มเติมกำาลังของกลุ่ม นปช.  รวมทั้งควบคุมบริเวณทางขึ้น-ลง และบนทาง
                     ยกระดับดอนเมืองโทล์เวย์  เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำาลังติดอาวุธใช้ทางยกระดับฯ ยิงอาวุธ หรือ

                     ใช้ระเบิดโจมตีเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานบนถนนวิภาวดีฯ นั้น
                                      แม้ ศอฉ. จะชี้แจงว่า  เป็นการกระทำาที่มีกฎหมายให้อำานาจไว้  โดยมีการ

                     ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
                     ๒๕๔๘  และได้มีการออกข้อกำาหนดตามกฎหมายดังกล่าว  อันมีผลทำาให้การปฏิบัติหน้าที่ของ

                     เจ้าหน้าที่ของรัฐในการตั้งด่านสกัดกั้นการเคลื่อนขบวนของกลุ่ม นปช.  ในเหตุการณ์นี้ เป็นไปตาม





                                                            55
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62