Page 60 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 60
นายพายัพฯ จึงแจ้งให้กลุ่ม นปช. ดักล้อมทางออกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไว้ จากนั้นนายแพทย์
รัฐพลีฯ ผู้ช่วยผู้อำานวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เข้าเจรจาอีกครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตกลง
กันได้ จนในที่สุด ศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำานวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ได้มาเจรจาและตกลงยอมให้กลุ่ม นปช. ประมาณ ๒๐-๓๐ คน เข้าตรวจสอบภายในโรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์ได้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละประมาณ ๑๕ คน เพื่อที่จะนำาไปตรวจยังอาคาร ภปร. ที่
ต้องสงสัยว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารซ่อนตัวอยู่ หลังจากการเจรจาตกลงกันแล้ว ผู้อำานวยการโรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์ได้เดินนำากลุ่มผู้ชุมนุมไปตรวจค้นที่อาคาร ภปร. ตามที่ตกลงกันไว้ แต่กลุ่ม นปช.
ประมาณ ๑๐๐ คน ซึ่งบางคนมีหนังสติ๊กและบางคนถือไม้ กลับบุกเข้าไปภายในโรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์ โดยที่แกนนำาไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และกลุ่ม นปช. ไม่ได้ไปที่อาคาร ภปร.
ตามที่ตกลงกันไว้ แต่กลับไปตรวจค้นที่อาคาร สก.มีการงัดทำาลายประตูกระจกชั้นเอ็ม (ชั้นลอย)
เพื่อเข้าไปในอาคาร สก. และไปบริเวณอาคารจอดรถ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลนำาไป
หลังจากนั้นประมาณ ๑ ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำารวจ สถานีตำารวจนครบาลปทุมวันได้มาเจรจากับกลุ่ม
ผู้ชุมนุม นปช. แต่ไม่เป็นผล จนกระทั่งเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. กลุ่ม นปช.จึงออกไปจากโรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์
จากการตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไม่พบกลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารแต่
อย่างใด แต่กลุ่ม นปช. ได้จับกุมตัวชายต้องสงสัยจำานวน ๒ คนไป ซึ่งปรากฏว่าบุคคลดังกล่าว
เป็นคนงานก่อสร้างของบริษัท อิตาเลียนไทย จำากัด เมื่อค้นตัวบุคคลทั้งสองกลับพบบัตรประจำาตัว
ผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. และภายหลังกลุ่ม นปช. จึงปล่อยตัวบุคคลทั้งสองไป
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่มีบุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ผู้ใดได้รับ
บาดเจ็บจากอาวุธ แต่มีบุคลากรบางรายถูกคุกคามจากกลุ่ม นปช. เช่น ถูกพูดจาต่อว่า ถูกค้น
กระเป๋า เป็นต้น และยังทำาให้ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรไม่มั่นใจในความปลอดภัยอีกต่อไป ดังนั้น
ในวันศุกร์ ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงตัดสินใจย้ายผู้ป่วยในทั้งหมด
ไปที่โรงพยาบาลอื่น เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงของผู้ป่วย และไม่สามารถให้บริการ
รักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยนอกได้
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน
๒๕๕๓ และฉบับที่ ๔ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ยืนยันว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทย ยึด “หลักกาชาดสากล” มาตลอด โดยยึดความเป็นกลางทางการเมือง ปฏิบัติงาน
เพื่อรักษาผู้ป่วยและผู้ได้รับบาดเจ็บทุกคน ไม่ว่าภาวะปกติหรือในภาวะสงคราม และขอยืนยันว่า
ไม่เคยร้องขอหรืออนุญาตให้กำาลังตำารวจ กำาลังทหาร หรือผู้ใดก็ตามมาอยู่อาศัยหรือซ่อนตัว
ในอาคารภายในโรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้
ออกแถลงการณ์ประณามการละเมิดหลักการมนุษยธรรม และเรียกร้องให้เคารพเครื่องหมาย
58
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓