Page 62 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 62

การละเมิดหลักมนุษยธรรมด้วย  ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงไม่ได้รับการรับรองและคุ้มครอง

                  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐

                                   ทั้งนี้ เมื่อการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในบริเวณติดกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
                  สภากาชาดไทย  และมีผู้ชุมนุมบางส่วนบุกเข้าไปในโรงพยาบาล  จึงเป็นการใช้เสรีภาพในลักษณะ

                  ก้าวล่วงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  รัฐย่อมมีหน้าที่ดำาเนินการให้เกิดความสงบเรียบร้อย
                  โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายภายใต้เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำาหนด  อันได้แก่ เพื่อ

                  คุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่าง
                  เวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก  ซึ่งสอดคล้องกับกติกา

                  ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๒๑ ที่กำาหนดว่า

                               “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง  การจำากัดการใช้สิทธินี้
                     จะกระทำามิได้  นอกจากจะกำาหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำาเป็นสำาหรับสังคม

                     ประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย
                     การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

                     อื่น”
                                   ดังนั้น การที่รัฐปล่อยให้มีการชุมนุมถึงขั้นก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งเรื่อง

                  มลภาวะทางเสียงที่รบกวนผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลด้านที่อยู่ติดกับถนนราชดำาริ

                  การตั้งด่านด้วยยางรถยนต์และไม้ไผ่ปิดกั้นกีดขวางทางเข้า - ออกโรงพยาบาล  การตรวจค้น
                  กระเป๋าของผู้ที่จะเดินทางเข้าออกโรงพยาบาล  ตลอดจนการเข้าไปใช้พื้นที่ด้านหน้าตึก ภปร.
                  เพื่อชุมนุมในเวลากลางคืนนั้น  จึงถือได้ว่า รัฐปล่อยปละละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิด

                  สิทธิมนุษยชนด้วย

                                   ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปมีว่า การเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
                  เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓  เป็นการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่  เห็นว่า

                  สำาหรับเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. การที่กลุ่ม นปช. ภายใต้
                  การนำาของนายพายัพ  ปั้นเกตุ  และภายใต้การรับรู้ของแกนนำา นปช. อีกสองคน คือ นายจตุพร

                  พรหมพันธุ์ และนายแพทย์เหวง  โตจิราการ ได้ขอเข้าตรวจสอบภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
                  เนื่องจากอ้างว่า จะมีกลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารซ่อนตัวอยู่ภายในอาคาร ภปร.  ซึ่งเจ้าหน้าที่ด้านการรักษา

                  ความปลอดภัย ผู้ช่วยผู้อำานวยการโรงพยาบาล ตลอดจนผู้อำานวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
                  ได้พยายามชี้แจงและยืนยันแล้วว่า ไม่มีกลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารซ่อนตัวอยู่ในโรงพยาบาลแต่อย่างใด

                  และในที่สุดจึงมีการเจรจายอมให้กลุ่ม นปช. เข้าไปตรวจสอบภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้
                  โดยจำากัดจำานวนคนที่จะเข้าไปตรวจค้นได้ ไม่เกิน ๓๐ คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ ๑๕ คน เพื่อนำา

                  ไปตรวจค้นที่อาคาร ภปร. และจะต้องกระทำาภายในขอบเขตตามที่ตกลงกันไว้  แต่กลับปรากฏว่า
                  การตรวจค้นดังกล่าว กลุ่ม นปช. ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลง  เนื่องจากกลุ่ม นปช. จำานวนประมาณ




                                                          60
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67