Page 55 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 55
เดือดร้อนเสียหายที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมในเหตุการณ์นี้ ทำาให้ถือได้ว่าการชุมนุมของกลุ่ม นปช.
มีการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นที่มิได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุม
๔.๕ กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๘
เมษายน ๒๕๕๓
ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในวันที่
๒๖ เมษายน ๒๕๕๓ ซึ่งกลุ่ม นปช. ได้ใช้กลุ่มมวลชนตั้งด่านปิดกั้นถนนพหลโยธินขาเข้า บริเวณ
อำาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณทางแยกเข้าวัดพระธรรมกายใกล้กับตลาดไท
โดยมีการตรวจค้นยานพาหนะทำาให้การจราจรติดขัด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ใช้
เส้นทางดังกล่าว ศอฉ. จึงได้ดำาเนินการในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเปิดการจราจร เป็นเหตุให้ใน
วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ กลุ่ม นปช. จึงได้มีการเคลื่อนมวลชนจากบริเวณสี่แยกราชประสงค์
เพื่อที่จะไปร่วมกับกลุ่ม นปช. ที่ตลาดไท โดยมีนายขวัญชัย ไพรพนา เป็นแกนนำา ในขบวน
ประกอบด้วยรถยนต์และรถจักรยานยนต์จำานวนมาก เดินทางไปตามถนนวิภาวดีรังสิต
เมื่อถึงบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ได้ถูกสกัดกั้นโดยกำาลังเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำารวจ
ซึ่งยืนเรียงหน้ากระดานถือโล่และกระบอง พร้อมเครื่องกีดขวาง ไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไป
ตลาดไท เนื่องจาก ศอฉ. เห็นว่า หากปล่อยให้กลุ่ม นปช. ดังกล่าวมีการเคลื่อนขบวนไปร่วมกับ
กลุ่ม นปช. ที่ตลาดไท จะทำาให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเช่นเดียวกับวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓
คือ การจราจรติดขัดเป็นระยะทางยาว ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
จากนั้นเวลาประมาณ ๑๓.๓๐ น. ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุม
และเจ้าหน้าที่ทหาร บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ขาออก หน้าโรงเรียนสังคีตวิทยา โดยกลุ่มผู้ชุมนุม
ได้เข้าประชิดแนววางกำาลังของเจ้าหน้าที่ พยายามรื้อถอนเครื่องกีดขวาง มีการใช้หนังสติ๊กยิงใส่
เจ้าหน้าที่โดยใช้หัวน๊อตก้อนหิน ลูกเหล็ก ลูกแก้วเป็นกระสุน มีการขว้างก้อนอิฐ ปาระเบิดปิงปอง
้
รวมทั้งมีบางส่วนใช้ปืนพกยิงใส่เจ้าหน้าที่ทหาร ขณะที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารมีการใช้แก๊สนำาตา
กระสุนยางและกระสุนจริง ระหว่างการปะทะมีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ ยังทำาให้
ประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกันของ
ทั้งสองฝ่ายอีกด้วย
ต่อมา เวลา ๑๕.๓๐ น. ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารกลุ่มหนึ่งใช้รถจักรยานยนต์เป็น
พาหนะ มีเจ้าหน้าที่ทหารซ้อนท้ายคันละ ๑ นาย ได้ขับรถจักรยานยนต์เข้ามาทางด้านหลัง กลุ่ม
ผู้ชุมนุม นปช. มุ่งหน้าไปยังแถวเจ้าหน้าที่ตำารวจและเจ้าหน้าที่ทหารที่ตั้งแนวสกัดกั้นกลุ่ม นปช.
ขณะนั้นได้เกิดเสียงปืนดังขึ้น กระสุนปืนทะลุหมวกเหล็กเข้าที่ศีรษะของพลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ
เป็นเหตุให้พลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ฯ ถึงแก่ความตายและจักรยานยนต์คันที่ พลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ฯ
53
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓