Page 53 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 53
ความเห็น
ประเด็นที่ต้องพิจารณามีว่า
ประเด็นที่หนึ่ง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลความสงบ
เรียบร้อยพื้นที่บริเวณแยกศาลาแดงในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
หรือปล่อยให้มีการใช้ความรุนแรงจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ยิงลูกระเบิดเอ็ม ๗๙ ขึ้น เป็นเหตุให้
มีประชาชนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บดังกล่าวนั้น มีการกระทำาหรือละเลยการกระทำาอันเป็น
การละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
ประเด็นที่สอง การกระทำาของผู้ชุมนุมเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพที่เกิน
ขอบเขตตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้หรือไม่
พิจารณาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานแล้ว ในประเด็นที่หนึ่งที่ต้อง
พิจารณาว่า การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลความสงบเรียบร้อยพื้นที่บริเวณ
แยกศาลาแดงในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ หรือปล่อยให้มีการ
ใช้ความรุนแรงจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ยิงลูกระเบิดเอ็ม ๗๙ ขึ้น เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิต
และได้รับบาดเจ็บดังกล่าวมีการกระทำาหรือละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
หรือไม่ นั้น
เหตุการณ์การเผชิญหน้าและตอบโต้กันของกลุ่มผู้ชุมนุมสองฝ่ายดังกล่าว
รัฐบาลได้มอบให้เจ้าหน้าที่ตำารวจเป็นผู้เข้ามาแก้ไขสถานการณ์ แต่จากพยานหลักฐาน นอกจาก
เจ้าหน้าที่ตำารวจจะนำารถควบคุมผู้ต้องขังมากั้นบริเวณสี่แยกศาลาแดงแล้ว ก็มิได้พยายาม
ดำาเนินการอื่นใดให้เหตุการณ์สงบลง จนต้องมีผู้ติดต่อขอให้เจ้าหน้าที่ตำารวจมาตั้งแนวป้องกัน
แต่เจ้าหน้าที่ตำารวจก็ไม่ได้เข้ามาตั้งแนวป้องกันในทันที และเมื่อมาตั้งแถวป้องกันไม่นานก็สลาย
ตัวไป โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นการยั่วยุอารมณ์ผู้ชุมนุมฝั่งถนนสีลมมากขึ้น จนกระทั่งเมื่อมีเหตุ
ระเบิดเกิดขึ้น ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำารวจ
ได้หลบออกไปไม่ให้การช่วยเหลือประชาชน แต่ปล่อยให้ประชาชนต้องช่วยเหลือกันเอง และมี
เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาช่วยเหลือด้วย การกระทำาของเจ้าหน้าที่ตำารวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์
ดังกล่าว เห็นได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีการวางแผน
ที่ดีพอในการปกป้องรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชน และมีลักษณะที่อาจทำาให้ถูกมอง
ได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ จึงถือได้ว่ารัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำารวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์
ดังกล่าวละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐบาลควรดำาเนินการปกป้อง
สิทธิของประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมให้มากกว่านี้
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว ทำาให้มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย และมี
ผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำานวน ๑๐๐ คน จึงถือเป็นเหตุการณ์ที่มีการกระทำาความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญาเกิดขึ้นอีกด้วย ซึ่งรัฐบาลโดยสำานักงานตำารวจแห่งชาติ หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ
51
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓