Page 52 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 52

จุฬาลงกรณ์  ซึ่งใกล้เคียงกับบริเวณที่กลุ่ม นปช. ชุมนุมอยู่  นอกจากนี้ ระหว่างเกิดเหตุ พยานซึ่ง

                  เป็นอาสาสมัครเครือข่ายสันติวิธีได้ให้ข้อเท็จจริงว่า  เมื่อเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. พยานได้
                  เดินไปด้านหลังบังเกอร์ของกลุ่ม นปช. ได้ยินแกนนำาประกาศบนรถขยายเสียงหลายครั้งเป็น

                  ระยะๆ ว่า  ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปอยู่ในแนวรถขยายเสียง อย่าไปอยู่ระหว่างแนวบังเกอร์ป้องกันกับรถ
                  ขยายเสียง  หากใครอยู่ในแนวดังกล่าวจะต้องรับผิดชอบชีวิตตนเอง  และต่อมา เวลา ๒๐.๐๐ -

                  ๒๐.๔๕ น. ก็เกิดเหตุระเบิดเอ็ม ๗๙ ขึ้น หลังจากที่แกนนำากลุ่ม นปช. ประกาศไม่นานนัก
                                   โดยสรุป คือ พยานที่อยู่ในเหตุการณ์ให้ข้อเท็จจริงสอดคล้องต้องกัน โดย

                  เชื่อว่าการยิงลูกระเบิดเอ็ม ๗๙ บริเวณถนนสีลม แยกศาลาแดง เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓
                  มีทิศทางมาจากฝั่งที่กลุ่ม นปช. ชุมนุมกันอยู่  จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีผู้เสียชีวิต จำานวน ๑ คน

                  และบาดเจ็บ จำานวน ๗๙ คน  สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสศาลาแดง อันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อการ
                  บริการสาธารณะได้รับความเสียหาย และทรัพย์สินของประชาชนเสียหายจำานวนหนึ่งด้วย

                                   สำาหรับการสืบสวนหาตัวผู้กระทำาความผิดนั้น ปรากฏว่า เมื่อวันที่ ๒๓
                  ธันวาคม ๒๕๕๓ พนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ได้ควบคุมตัว

                  นายเจ็มส์  สิงห์สิทธิ์ คนสนิทของพลตรี ขัตติยะ  สวัสดิผล หรือ เสธ. แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ
                  กองทัพบก มาขออำานาจศาลฝากขัง  โดยนายเจ็มส์  สิงห์สิทธิ์ เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของ

                  ศาลอาญา  เนื่องจากเป็นหัวหน้ากองกำาลังติดอาวุธของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน
                  เผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ในการก่อวินาศกรรมต่อต้านเจ้าหน้าที่ของรัฐ และยังถูกกล่าวหาว่า

                  เป็นผู้ยิงระเบิดชนิดเอ็ม ๗๙ ใส่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสศาลาแดง และบริเวณถนนสีลม ในช่วง
                  การชุมนุมของกลุ่ม นปช. เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓  ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ

                  ติดตามจับกุมผู้ต้องหาได้ที่บริเวณหน้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำากัด ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
                  เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓  เบื้องต้น ผู้ต้องหาให้การภาคเสธว่า

                  ได้ร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. และรู้จักกับพลตรี ขัตติยะฯ จริง แต่ไม่ได้เป็นผู้ยิงระเบิดชนิดเอ็ม ๗๙
                  ตามที่ถูกกล่าวหา  ศาลพิจารณาแล้วสอบถามผู้ต้องหาไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ฝากขังได้ตาม

                  คำาร้อง และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  ศาลอาญาได้อนุญาตให้ประกันตัวนายเจ็มส์
                  สิงห์สิทธิ์ โดยตีราคาประกันหลักทรัพย์ ๖๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมวางเงื่อนไขห้ามยั่วยุ ปลุกปั่น

                  และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากศาล
                                   ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้รวบรวมข้อมูล

                  ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ ว่ามี
                  ผู้บาดเจ็บ จำานวน ๑๐๐ คน (พลเรือน ๙๔ คน เจ้าหน้าที่ทหารและตำารวจ ๖ คน) ผู้เสียชีวิต จำานวน

                  ๑ คน ซึ่งเป็นพลเรือน  รวมผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ทั้งหมด ๑๐๑ คน










                                                          50
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57