Page 40 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 40

โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขต

                  ท้องที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง  รวมทั้งออกประกาศ คำาสั่ง และข้อกำาหนดของรัฐบาล
                  เพื่อให้การดำาเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปโดยเรียบร้อย  จึงเป็นการกระทำาภายใต้

                  ขอบเขตที่กฎหมายให้อำานาจไว้  ประกอบกับเมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ในการใช้มาตรการ
                  ดังกล่าวแล้ว  ก่อให้เกิดผลต่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลกระทบที่มีต่อกลุ่มบุคคลที่ถูกจำากัด

                  สิทธิและเสรีภาพ  กรณีจึงเป็นการจำาเป็นเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว

                                          พิจารณาจากข้อเท็จจริงและเหตุผลข้างต้นแล้วจึงเห็นว่า  การใช้
                  อำานาจตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการประกาศ

                  สถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีความร้ายแรง และจัดตั้งศูนย์
                  อำานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ของนายกรัฐมนตรีมีผล

                  เป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครองไว้  อย่างไรก็ตาม
                  มาตรการที่มีผลเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายให้อำานาจไว้

                  และเป็นการจำากัดเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนส่วนรวมในระหว่างที่สถานการณ์
                  บ้านเมืองเกิดความไม่สงบ อันมีเหตุความจำาเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว

                  กรณีจึงเป็นการใช้อำานาจตามกฎหมายภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สามารถกระทำาได้


                                   ๔.๒.๒  การสั่งระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล (พีทีวี)
                  และสั่งระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออินเทอร์เน็ตบางสื่อ

                                          โดยที่การเผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์พีทีวี

                  และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต  เป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของ
                  บุคคลและสื่อมวลชน  ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  บัญญัติไว้ใน
                  มาตรา ๔๕ ว่า

                               “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  การพูด  การเขียน  การพิมพ์

                     การโฆษณา  และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
                               การจำากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตาม
                     บทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะเพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ

                     เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความ

                     สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทราม
                     ทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
                               การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น  เพื่อลิดรอนเสรีภาพตาม

                     มาตรานี้ จะกระทำามิได้
                               การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็น

                     ทั้งหมดหรือบางส่วน  หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ  เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรา



                                                         38
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45