Page 39 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 39

จากในวันที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ  กลุ่ม นปช. ยังมิได้มี

                     การจัดตั้งเวทีและเริ่มชุมนุมใหญ่  ซึ่งต่อมาวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ในระหว่างการประกาศ
                     ใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ นั้น  ก็ปรากฏว่ากลุ่ม นปช. ได้เริ่มเดินทางเข้า

                     กรุงเทพมหานครและจัดตั้งเวทีชุมนุมที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศและชุมนุมเรื่อยมา
                     โดยมิได้มีการขัดขวาง กรณีจึงยังไม่มีการใช้อำานาจตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ

                     ไปจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในช่วงเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด

                                             ข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่า ภายหลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
                     การรักษาความมั่นคงฯ ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นหลายครั้ง  โดยเฉพาะเหตุการณ์

                     ระเบิดสถานที่สำาคัญหลายแห่ง ตลอดเดือนมีนาคมไปจนถึงต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ อาทิ
                     กระทรวงกลาโหม  กระทรวงสาธารณสุข  ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี  สำานักงานอัยการสูงสุด

                     กรมศุลกากร  ทำาเนียบรัฐบาล  ที่ทำาการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น  เป็นเหตุให้รัฐบาลต้องขยาย
                     ระยะเวลาการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวออกไปอีกสองช่วง ได้แก่ ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๓๐

                     มีนาคม ๒๕๕๓  และระหว่างวันที่ ๓๑ มีนาคม – ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ประกอบกับในช่วงเวลา
                     ดังกล่าว  กลุ่ม นปช. ก็ยังคงดำาเนินการชุมนุมโดยได้ขยายพื้นที่และเริ่มเคลื่อนย้ายไปชุมนุมบริเวณ

                     สี่แยกราชประสงค์ ในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓ อันเป็นแหล่งธุรกิจที่สำาคัญ  และเคลื่อนขบวนไป
                     ยังสถานที่ต่างๆ  ซึ่งเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบและกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นตามที่

                     ได้วิเคราะห์ไว้ในประเด็นที่ ๑  ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่รัฐบาลได้
                     ประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบางอำาเภอของ

                     จังหวัดปริมณฑล  และจัดตั้งศูนย์อำานวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เพื่อรองรับ
                     สถานการณ์ดังกล่าว  โดย ศอ.รส. ได้มีการจัดกำาลังเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ประกาศ

                     ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว  แต่สถานการณ์ในช่วงระยะเวลานั้นแทนที่จะเบาบางลง  กลับทวี
                     ความรุนแรงมากขึ้นดังกล่าวแล้วข้างต้น  กรณีจึงแสดงให้เห็นว่า ได้มีสถานการณ์อันกระทบหรือ

                     อาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ  ซึ่งจำาเป็นต้อง
                     มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติ  การปฏิบัติตามกฎหมาย  ความปลอดภัย

                     ของประชาชน  การดำารงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  ความสงบ
                     เรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม  หรือการป้องปัดความเสียหายจากภัยสาธารณะอันมีมาอย่าง

                     ฉุกเฉินและร้ายแรงแล้ว  ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาศัย
                     อำานาจตามความในมาตรา ๕  มาตรา ๗  มาตรา ๙  และมาตรา ๑๑  แห่งพระราชกำาหนด

                     การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการ
                     เกี่ยวกับการจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ซึ่งมาตรา ๒๙  ประกอบกับมาตรา ๓๒

                     มาตรา ๓๓  มาตรา ๓๔  มาตรา ๓๖  มาตรา ๓๘  มาตรา ๔๑  มาตรา ๔๓  มาตรา ๔๕ และ
                     มาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  บัญญัติให้กระทำาได้





                                                            37
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44