Page 41 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 41

นี้จะกระทำามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้น ตาม

                        วรรคสอง....”
                                             พิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นว่า  การแสดงความคิดเห็น

                     และการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เป็นเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครอง  และได้รับการป้องกัน
                     การแทรกแซงจากอำานาจรัฐ  การจำากัดเสรีภาพในการสื่อสารดังกล่าวจะทำาได้ก็ต่อเมื่อเป็นไป

                     ตามเงื่อนไขของบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๕
                     วรรคสอง แต่รัฐไม่สามารถสั่งปิดกิจการของสื่อได้โดยไม่มีข้อยกเว้น

                                             เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า  ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีโดยความ
                     เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาศัยอำานาจตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์

                     ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง  รวมทั้งออกประกาศและ
                     ข้อกำาหนดของรัฐบาล เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓  รัฐบาลได้มีมาตรการที่มีผลทำาให้สถานี

                     โทรทัศน์พีทีวีไม่สามารถเผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงได้  และทำาให้ประชาชนที่ติดตาม
                     การถ่ายทอดภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์พีทีวีไม่สามารถรับทราบและเข้าถึงข้อมูลของ

                     สถานีดังกล่าวได้ตามปกติ  กรณีจึงถือได้ว่า มาตรการดังกล่าวของรัฐมีผลเป็นการจำากัดเสรีภาพ
                     ในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน

                                             ประเด็นจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า  มาตรการของรัฐในการระงับการ
                     เผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์พีทีวีที่มีผลเป็นการจำากัดเสรีภาพในการแสดง

                     ความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนนั้น  รัฐบาลได้ดำาเนินการไปด้วยความจำาเป็นและ
                     เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่

                                             พิจารณาจากอำานาจหน้าที่ตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการ
                     ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  มาตรา ๑๑  ประกอบกับประกาศที่ออกโดยอาศัยอำานาจ

                     ตามมาตรา ๑๑  แห่งพระราชกำาหนดดังกล่าวและคำาสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓  เรื่อง
                     แต่งตั้งผู้กำากับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์

                     ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ แล้วเห็นว่า กฎหมายให้อำานาจหัวหน้าผู้รับผิด
                     ชอบ (ผอ.ศอฉ.) ในการสั่งห้ามกระทำาการใดๆ หรือสั่งให้กระทำาการใดๆ เท่าที่จำาเป็นแก่การรักษา

                     ความมั่นคงของรัฐ  ความปลอดภัยของประเทศ  หรือความปลอดภัยของประชาชนและมีอำานาจ
                     ในการบังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่

                     เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำาหนดเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ  ความปลอดภัยของ
                     ประเทศหรือความปลอดภัยของประชาชน

                                             เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามหลักฐานซึ่งเป็นคลิปวิดีโอเผยแพร่ภาพและ
                     เสียงของสถานีโทรทัศน์พีทีวีจากเวทีปราศรัยของแกนนำากลุ่ม นปช.  ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการประกาศ

                     สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง  เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓  โดยที่ปรากฏถ้อยคำาจาก





                                                            39
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46