Page 43 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 43
พิจารณาจากข้อเท็จจริงและเหตุผลข้างต้นแล้วจึงเห็นว่า มาตรการ
ของรัฐที่มีผลเป็นการระงับการเผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์พีทีวี มีผลเป็น
การจำากัดเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นของสื่อ ตามที่รัฐธรรมนูญให้การ
รับรองและคุ้มครองไว้ และทำาให้ประชาชนไม่สามารถรับทราบและเข้าถึงข้อมูลของสื่อที่ถูกระงับ
ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม การจำากัดเสรีภาพดังกล่าวอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายให้อำานาจไว้
และเป็นการจำากัดเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างที่สถานการณ์บ้านเมืองเกิดความไม่สงบ
อันมีเหตุความจำาเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว กรณีจึงเป็นการใช้อำานาจตาม
กฎหมายภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สามารถกระทำาได้
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า สถานีโทรทัศน์พีทีวีได้เผยแพร่สัญญาณภาพ
และเสียงเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. มาตั้งแต่ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะประกาศสถานการณ์
ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ แล้ว โดยที่มีการถ่ายทอดภาพและเสียง
การปราศรัยของแกนนำาที่มีลักษณะเป็นทำานองยั่วยุ ปลุกระดมผู้ชุมนุม ให้ก่อความไม่สงบใน
บ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลก็มิได้ใช้มาตรการใดๆ เพื่อระงับเหตุการณ์ หรือแก้ไขให้
สถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายหรือยุติลง ด้วยการบังคับใช้กฎหมายภายใต้สถานการณ์ปกติ
กลับปล่อยให้สถานการณ์ล่วงเลยมาจนเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นหลายครั้ง จนกระทั่งรัฐบาล
ต้องอาศัยอำานาจตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงจะออกมาตรการที่มีผลเป็นการระงับการ
เผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์พีทีวี กรณีดังกล่าวจึงชี้ให้เห็นถึงความ
บกพร่องของรัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขาดการวางแผนที่ดีพอในการป้องกัน
และแก้ไขสถานการณ์ ละเลยต่อหน้าที่ มิได้ใช้บังคับกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความ
สงบสุขในบ้านเมือง
สำาหรับกรณีการปิดกั้นเว็บไซต์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภายหลัง
จากที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาศัยอำานาจตามพระราชกำาหนด
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ
ร้ายแรง รวมทั้งออกประกาศและข้อกำาหนดของรัฐบาล เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ รัฐบาล
ได้มีมาตรการที่มีผลทำาให้เว็บไซต์จำานวนมากถูกปิดกั้นจนไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ และทำาให้
ประชาชนไม่สามารถรับทราบและเข้าถึงข้อมูลของเว็บไซต์ดังกล่าวได้ตามปกติ กรณีจึงถือได้ว่า
มาตรการดังกล่าวของรัฐมีผลเป็นการจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและ
สื่อมวลชน
ประเด็นจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า มาตรการของรัฐในการระงับการ
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ที่มีผลเป็นการจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ของบุคคลและสื่อมวลชนนั้น รัฐบาลได้ดำาเนินการไปด้วยความจำาเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์
ที่เกิดขึ้นหรือไม่
41
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓