Page 35 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 35

จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓  กลุ่ม นปช. ตั้งขบวนออกจากสะพาน

                     ผ่านฟ้าลีลาศเพื่อเดินทางไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม  อ้างว่า รัฐบาลจะปิดสถานีโทรทัศน์พีเพิล
                     ชาแนล หรือพีทีวี  พร้อมกับเดินทางไปปิดล้อมและบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภา  มีการยึดอาวุธและ

                     ทำาร้ายสารวัตรทหารจนได้รับบาดเจ็บ  พร้อมประกาศจับตัวนายสุเทพ  เทือกสุบรรณ รองนายก
                     รัฐมนตรี  และให้การ์ด นปช. เข้าไปค้นในรัฐสภา  เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยเข้าไป

                     เจรจา  กลุ่ม นปช. จึงยินยอมถอยออกไป  ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                     ฝ่ายรัฐบาลบางส่วนได้หลบออกจากอาคารรัฐสภา โดยข้ามกำาแพงรัฐสภาเพื่อออกไปทางด้าน

                     พระที่นั่งพิมานเมฆ  จากเหตุการณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
                     ได้ใช้อำานาจตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศ

                     สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง  รวมทั้งออก
                     ประกาศ คำาสั่ง และข้อกำาหนด  พร้อมกับจัดตั้งศูนย์อำานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

                     โดยมี นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำานวยการ ให้มีอำานาจหน้าที่ปฏิบัติตาม
                     พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือกฎหมายอื่น  เพื่อให้

                     สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง
                                      ต่อมา  วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓  กลุ่ม นปช. จำานวนหนึ่งได้เดินทางไปที่

                     สถานีดาวเทียมไทยคม  อำาเภอลาดหลุมแก้ว  จังหวัดปทุมธานี  และที่สถานีดาวเทียมไทยคม
                     ถนนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี  ด้วยเหตุที่ไม่พอใจการที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ

                     และใช้อำานาจตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ. ๒๕๔๘
                     ตัดสัญญาณโทรทัศน์ช่องพีทีวี  จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุม

                     กับเจ้าหน้าที่ทหาร  จนกระทั่งกลุ่มผู้ชุมนุมสามารถเข้าไปในสถานีดาวเทียมไทยคมและทำาการ
                                                               ่
                     เชื่อมสัญญาณพีทีวีได้สำาเร็จ  โดยต่อมาในช่วงคำา เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าไปควบคุมพื้นที่บริเวณ
                     สถานีดาวเทียมไทยคมได้ และระงับสัญญาณโทรทัศน์พีทีวีอีกครั้ง

                                      นอกจากนี้  ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า  ภายหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
                     ที่มีความร้ายแรง  เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓  นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ ในฐานะผู้อำานวยการ

                     ศูนย์อำานวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) / ผู้อำานวยการศูนย์อำานวยการแก้ไขสถานการณ์

                     ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้มีหนังสือลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ
                     การสื่อสาร  แจ้งมติคณะกรรมการ ศอฉ. ให้ปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจ
                     ส่งผลต่อความมั่นคง จำานวน ๓๖ เว็บไซต์  และหนังสือลงวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๓  แจ้งมติคณะ

                     กรรมการ ศอฉ. ให้ปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลต่อความมั่นคง จำานวน

                     ๕๘ เว็บไซต์  รวมทั้งได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ ถึงผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม
                     ขอให้ระงับการแพร่หลายข้อความที่มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารที่ดำาเนินการผ่านการให้บริการ
                     โทรคมนาคม  และหนังสือลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓  แจ้งมติคณะกรรมการ ศอฉ. ให้ปิดกั้น





                                                            33
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40