Page 44 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 44

พิจารณาจากอำานาจหน้าที่ตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการใน

                  สถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ. ๒๕๔๘  มาตรา ๑๑  ประกอบกับประกาศที่ออกโดยอาศัยอำานาจตาม
                  มาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำาหนดดังกล่าว  และคำาสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้ง

                  ผู้กำากับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
                  ที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒  ข้อ ๓  และข้อ ๔ แล้ว เห็นว่า  กฎหมายให้อำานาจหัวหน้าผู้รับผิดชอบ

                  (ผอ.ศอฉ.)  ในการสั่งห้ามกระทำาการใดๆ หรือสั่งให้กระทำาการใดๆ เท่าที่จำาเป็นแก่การรักษา
                  ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน และมีอำานาจ

                  ในการบังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
                  เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำาหนดเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ  ความปลอดภัย

                  ของประเทศหรือความปลอดภัยของประชาชน
                                          การที่นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ ในฐานะผู้อำานวยการ ศอ.รส. และ

                  ผู้อำานวยการ ศอฉ. มีหนังสือแจ้งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงผู้ประกอบ
                  กิจการโทรคมนาคม ปิดกั้นเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง

                  และมีข้อความที่มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร  จึงเป็นการใช้อำานาจในขอบเขตที่กฎหมายให้
                  อำานาจไว้แล้ว  ส่วนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

                  ในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว  บรรดาอำานาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี
                  สารสนเทศและการสื่อสาร เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา

                  หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน  ย่อมโอนมาเป็นอำานาจ
                  หน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชกำาหนดการบริหารราชการ

                  ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
                  สื่อสารจึงเป็นผู้ดำาเนินการตามคำาสั่งของนายสุเทพฯ ในการปิดกั้นเว็บไซต์  โดยอาศัยอำานาจของ

                  นายสุเทพฯ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้อำานาจไว้ตามประกาศ มาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำาหนดการบริหาร
                  ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  การดำาเนินการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ

                  และการสื่อสารจึงอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายให้อำานาจไว้แล้วเช่นกัน
                                          เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า  ในช่วงระยะเวลาที่รัฐบาลประกาศ

                  สถานการณ์ฉุกเฉิน  มีเว็บไซต์จำานวนมากเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลกระทบต่อความ
                  มั่นคง  การที่รัฐบาลใช้มาตรการที่มีผลเป็นการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต

                  ดังกล่าว  จึงเป็นการจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๔๕ วรรคสอง  ยกเว้นให้กระทำาได้ โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติ

                  ของกฎหมายเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
                  ของประชาชนแล้ว  ประกอบกับมาตรการของรัฐในการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อ

                  อินเทอร์เน็ตนั้น  รัฐได้ใช้วิธีการปิดกั้นมิให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกจำากัด  มิได้ถึง





                                                         42
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49