Page 42 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 42
การปราศรัยของแกนนำา นปช. หลายครั้ง ที่มีลักษณะเป็นทำานองยั่วยุ ปลุกระดมผู้ชุมนุมให้ก่อ
ความรุนแรงและความไม่สงบในบ้านเมืองอันเป็นภัยต่อความมั่นคง ในขณะที่สถานการณ์บ้านเมือง
เกิดความวุ่นวายและเหตุการณ์ไม่สงบอย่างต่อเนื่อง อันเข้าข่ายเป็นการกระทำาให้ปรากฏแก่
ประชาชนซึ่งมิใช่เป็นการกระทำาภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน
หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง หรือเพื่อให้
ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๖
จนกระทั่งวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ
ร้ายแรง สถานีโทรทัศน์พีทีวีก็ยังคงเผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงเหตุการณ์การชุมนุมของ
กลุ่ม นปช. ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งเข้าข่ายต้องห้ามมิให้มีการเผยแพร่ตามข้อกำาหนดออกตาม
ความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
แม้ว่าการชุมนุมที่เวทีปราศรัยของกลุ่ม นปช. ที่สถานีโทรทัศน์พีทีวีดำาเนินการเผยแพร่ จะมี
รูปแบบที่หลากหลาย นอกเหนือจากการปราศรัยของแกนนำาก็ตาม เช่น มีการแสดงดนตรี
นำาเสนอข่าว เป็นต้น แต่รูปแบบที่หลากหลายดังกล่าวก็มิได้กำาหนดเป็นผังรายการที่แน่นอน ทั้งยัง
มีเนื้อหาที่สอดประสานและมีความมุ่งหมายอย่างเดียวกันกับการปราศรัยของแกนนำาบนเวที
นอกจากนี้ การนำาเสนอส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของการปราศรัยของแกนนำากลุ่ม นปช. มากกว่า
รูปแบบอื่น การเผยแพร่ภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์พีทีวีดังกล่าว จึงเป็นการกระทำาที่
เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอาญา รวมทั้งข้อกำาหนดที่ออกตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นเหตุที่รัฐบาลสามารถใช้มาตรการในการระงับ ป้องกัน
หรือแก้ไขเพื่อมิให้มีการดำาเนินการดังกล่าวต่อไปได้
ดังนั้น การที่รัฐบาลมีความจำาเป็นต้องใช้มาตรการที่มีผลเป็นการ
ระงับการเผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงของสถานีดังกล่าว โดย ศอฉ. ได้ใช้อำานาจสั่งการตาม
พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๑ ประกอบ
กับประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว และคำาสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ
๒/๒๕๕๓ ข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ให้กองทัพภาค ที่ ๑ กองกำาลังรักษาความสงบ กองทัพภาค
ที่ ๑ โดยหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก จัดกำาลังเข้ารักษาความปลอดภัย
และควบคุมพื้นที่บริเวณสถานีดาวเทียมไทยคม ๒ และได้มีการมอบให้เจ้าหน้าที่ กทช. และ
เจ้าหน้าที่สื่อสารเข้าดำาเนินการ จนกระทั่งสัญญาณภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์ช่องพีทีวี
หายไป ในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ จึงเป็นการกระทำาภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายให้อำานาจไว้แล้ว
และเป็นการกระทำาเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างที่สถานการณ์บ้านเมืองเกิดความไม่สงบ
ประกอบกับเมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ในการใช้มาตรการดังกล่าวแล้ว ก่อให้เกิดผลต่อประโยชน์
ส่วนรวมมากกว่าผลกระทบที่มีต่อกลุ่มบุคคลที่ถูกจำากัดสิทธิและเสรีภาพ กรณีจึงเป็นการจำาเป็น
เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว
40
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓