Page 37 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 37

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่ง

                        ราชอาณาจักรไทย เอกราช และบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ  การปฏิบัติ
                        ตามกฎหมาย  ความปลอดภัยของประชาชน  การดำารงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน  การ

                        คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม  หรือการป้องปัด
                        หรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง”


                                             และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  ได้
                     บัญญัติข้อยกเว้นในการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมไว้ในมาตรา ๖๓ วรรคสอง ว่า
                                  “การจำากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตาม

                        บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวก

                        ของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศ
                        อยู่ในสภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศ
                        ใช้กฎอัยการศึก”

                                             ซึ่งเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรการของรัฐที่มีผล

                     เป็นการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุม  จะกระทำาได้ก็ต่อเมื่อได้ดำาเนินการโดยอาศัยอำานาจตาม
                     กฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ  และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะ

                     ใช้ที่สาธารณะ  หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในสภาวะสงคราม
                     หรือในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน  อันเป็นไปตามเงื่อนไขของบทบัญญัติของ

                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๖๓ วรรคสอง

                                             เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า  การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ได้เริ่มขึ้นก่อนที่
                     แกนนำากลุ่ม นปช. จะประกาศนัดชุมนุมใหญ่ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ แล้ว  โดยได้กระจายตาม

                     จังหวัดต่างๆ  และได้ปรากฏภาพและเสียงการปราศรัยของแกนนำากลุ่ม นปช. ที่มีลักษณะเป็น
                     ทำานองยั่วยุ ปลุกระดมผู้ชุมนุมให้ก่อความรุนแรงในบ้านเมืองเรื่อยมา ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๓

                     แล้ว  โดยเฉพาะการปราศรัยที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ และ
                     การปราศรัยที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำาเนิน เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ และ

                     ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓  แกนนำากลุ่ม นปช. ได้ประกาศนัดชุมนุมใหญ่โดยเริ่มจัด
                     ตั้งเวทีที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ซึ่งภายหลังจากการประกาศ

                     นัดชุมนุมใหญ่ ได้เกิดเหตุการณ์คนร้ายขว้างระเบิดใส่ธนาคารกรุงเทพ จำานวน ๔ สาขา ในพื้นที่
                     กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓  และสถานการณ์มีแนวโน้มว่าจะ

                     รุนแรงมากยิ่งขึ้น  กระทั่งต่อมาวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓  คณะรัฐมนตรีได้อาศัยอำานาจตามความ
                     ในพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  พ.ศ. ๒๕๕๑  มีมติให้เขตพื้นที่

                     กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง  เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายใน
                     ราชอาณาจักร  พร้อมกับจัดตั้งศูนย์อำานวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เพื่อรองรับ




                                                            35
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42