Page 45 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 45

ขั้นเป็นการปิดกิจการสื่อมวลชน  ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๕ วรรคสาม ที่ไม่อนุญาต

                     ให้กระทำาได้แต่อย่างใด  แต่เนื่องจากการปิดกั้นเว็บไซต์ดังกล่าว  ปรากฏข้อเท็จจริงว่า  มีเว็บไซต์
                     ที่ถูกปิดกั้นหลายเว็บไซต์  นอกจากมีเนื้อหาที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลกระทบต่อความ

                     มั่นคงแล้ว  ก็ยังมีเนื้อหาสาระอื่นที่หลากหลายซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารที่ต้องห้ามตาม
                     ประกาศรวมอยู่ในเว็บไซต์เดียวกันกับที่ถูกปิดกั้น  การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารทั้งเว็บไซต์โดยที่ไม่มี

                     การแยกแยะเนื้อหาสาระว่า เนื้อหาใดที่กระทบหรือไม่กระทบต่อความมั่นคง เป็นเหตุให้เนื้อหา
                     และข้อมูลข่าวสารบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงถูกปิดกั้นไปด้วย  อีกทั้งภายหลังจากที่มี

                     การยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว  เว็บไซต์บางเว็บไซต์ยังคงถูกปิดกั้นอยู่  โดยมี
                     การอ้างคำาสั่ง ศอฉ. ปรากฏที่หน้าเว็บไซต์ดังกล่าว  ทั้งที่ขณะนั้นไม่มี ศอฉ. แล้ว  กรณีดังกล่าว

                     แม้ผู้มีอำานาจจะสั่งการโดยอาศัยอำานาจตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์
                     ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  แต่การดำาเนินการตามอำานาจดังกล่าวถือเป็นการจำากัดเสรีภาพในการเสนอ

                     ข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นโดยสิ้นเชิง ไม่มีขอบเขต และไม่มีการกำาหนดระยะเวลา  อันเป็น
                     การลิดรอนและเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพที่เกินกว่ากรณีแห่งความจำาเป็น

                                             พิจารณาจากข้อเท็จจริงและเหตุผลข้างต้นแล้วจึงเห็นว่า  มาตรการ
                     ของรัฐที่มีผลเป็นการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นการใช้อำานาจ

                     ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายให้อำานาจไว้  อย่างไรก็ตาม การดำาเนินการตามอำานาจดังกล่าวของรัฐ
                     เป็นการจำากัดเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนที่

                     เกินความเหมาะสมและเกินกว่ากรณีแห่งความจำาเป็น  กรณีจึงเป็นการกระทำาอันเป็นการละเมิด
                     เสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน





                               ๔.๓  กรณีการชุมนุมและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับกลุ่ม นปช. เมื่อวันที่
                     ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓


                                      ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้
                                      จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า  วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓  เวลา

                     ประมาณ ๑๒.๐๐ น.  แกนนำากลุ่ม นปช. บนเวทีปราศรัยที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศได้ประกาศเตือน
                     ผู้ชุมนุมว่า  เจ้าหน้าที่ทหารจะสลายการชุมนุม  ด้านเจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำาสั่งให้เปิดเส้นทาง

                     การจราจรจากบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่จะมุ่งหน้าสู่สะพานพระราม ๘  และสะพาน
                     สมเด็จพระปิ่นเกล้า  โดยมีกองทัพภาค ที่ ๑  กองพล ที่ ๑ รักษาพระองค์  มณฑลทหารบก ที่ ๑๑

                     กองพลทหารราบ ที่ ๒ รักษาพระองค์  หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก  กองพล
                     ทหารม้า ที่ ๒ รักษาพระองค์  หน่วยปฏิบัติการพิเศษกองทัพบก  และหน่วยบินเฉพาะกิจ  ศอฉ.

                     ปฏิบัติภารกิจ





                                                            43
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50