Page 38 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 38

สถานการณ์ โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวไปจนถึงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓

                                          พิจารณาแล้ว  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราช-

                  อาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑  แม้จะมีบทบัญญัติที่จำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลบางประการ แต่เป็น
                  กฎหมายที่ให้อำานาจแก่ผู้มีอำานาจตามกฎหมายประกาศใช้ในสถานการณ์พิเศษซึ่งจะต้องปรากฏ

                  เหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  แต่ยังไม่มีความจำาเป็นต้องประกาศ
                  สถานการณ์ฉุกเฉิน  และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งอยู่ในอำานาจหน้าที่

                  หรือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย  ตลอดจนยังต้องกำาหนด
                  พื้นที่และระยะเวลาการใช้บังคับด้วย  และเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดหรือสามารถแก้ไขได้ตาม

                  อำานาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบตามปกติแล้ว  ก็ให้ประกาศยุติการใช้พระราชบัญญัติ
                  ดังกล่าว  พิจารณาแล้วจึงเห็นว่า  เจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ มี

                  ความมุ่งหมายเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ  ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
                  เพื่อให้สามารถป้องกันและระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที  ซึ่งมีความจำาเป็นต้องออก

                  ข้อกำาหนดที่มีการจำากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนบางประการ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน
                  ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ภายในพื้นที่ที่กระทบต่อความมั่นคง

                  ภายในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้  อีกทั้งบทบัญญัติ
                  แห่งกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง

                  หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง  และถือว่าเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพใน
                  สถานการณ์ที่พึงใช้บังคับในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์

                  ภายในเขตพื้นที่เป็นการชั่วคราวในบางพื้นที่และกระทำาเท่าที่จำาเป็น กรณีจึงไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
                  ที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

                                          สำาหรับการใช้อำานาจตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ

                  ดังกล่าว  แม้จะมีผลเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลบางประการ  เนื่องจาก ศอ.รส. ได้
                  ออกประกาศห้ามบุคคลเข้าออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำาหนด  ห้ามนำาอาวุธออก
                  นอกเคหสถาน  และห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะในพื้นที่บางพื้นที่  แต่การใช้อำานาจ

                  ดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความ

                  มั่นคงฯ แล้ว  เนื่องจากปรากฏเหตุการณ์อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้  โดยส่งผลกระทบต่อความมั่นคง
                  ภายในราชอาณาจักร  แต่ยังไม่มีความจำาเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วย
                  การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะดำารงหรือมีอยู่ต่อไป

                  เป็นเวลานาน  ทั้งยังมีกำาหนดเวลาใช้บังคับที่แน่นอน  โดย ศอ.รส. ได้จัดกำาลังเจ้าหน้าที่ตำารวจ

                  ทหารและพลเรือนเพื่อปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ
                  ในลักษณะของการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ การรักษาความปลอดภัยสถานที่สำาคัญ มิได้มีการจำากัด
                  เสรีภาพในการชุมนุมในขณะใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ แต่อย่างใด  ดังจะเห็นได้





                                                         36
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43