Page 36 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 36

เว็บไซต์ / ยูอาร์แอล / ไอพี / เบอร์โทรศัพท์  รวมจำานวน ๖๑๔ เว็บไซต์ / ยูอาร์แอล / ไอพี / เบอร์

                  โทรศัพท์

                                   ความเห็น

                                   แยกพิจารณาได้ดังนี้

                                   ๔.๒.๑  การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและเขต
                  ปริมณฑล และจัดตั้งศูนย์อำานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

                                          พิจารณาแล้วเห็นว่า  ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง

                  ประกาศและข้อกำาหนดของรัฐบาล  เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ ได้ออกโดยอาศัยอำานาจตาม
                  ความในมาตรา ๕ มาตรา ๗ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำาหนดการบริหารราชการ

                  ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้ให้อำานาจนายกรัฐมนตรีในการออก
                  ข้อกำาหนดที่มีผลเป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพบางประการ  ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อวันที่

                  ๗ เมษายน ๒๕๕๓  ภายหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นายกรัฐมนตรี
                  ได้ออกข้อกำาหนดตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์

                  ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  ซึ่งมีสาระสำาคัญเป็นการห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่
                  ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำาการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย  และห้ามการเสนอ

                  ข่าว การจำาหน่าย หรือทำาให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจ
                  ทำาให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร  ประกอบกับห้ามใช้เส้นทาง

                  คมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ  ห้ามใช้อาคารหรือเข้าไปในสถานที่ใดๆ รวมถึงให้อพยพประชาชน
                  ออกจากพื้นที่ที่กำาหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่  ดังนั้น กรณี

                  จึงชี้ให้เห็นว่า มาตรการของรัฐดังกล่าวมีผลเป็นการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยตรง  รวมทั้ง
                  เป็นการจำากัดสิทธิและเสรีภาพอื่นตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้ด้วย

                                          ประเด็นจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า  การที่รัฐบาลใช้อำานาจในการ
                  ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.

                  ๒๕๔๘  และการออกข้อกำาหนด ประกาศ และคำาสั่ง เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ อันมีผลเป็น
                  การจำากัดสิทธิและเสรีภาพนั้น  รัฐบาลได้ดำาเนินการไปด้วยความจำาเป็นและเหมาะสมกับ

                  สถานการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่
                                          โดยที่พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ.

                  ๒๕๔๘  ได้ให้ความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ในมาตรา ๔ ว่า
                               “สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

                     หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ  หรืออาจทำาให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศ
                     ตกอยู่ในภาวะคับขัน  หรือมีการกระทำาความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวล

                     กฎหมายอาญา  การรบ หรือการสงคราม  ซึ่งจำาเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่ง



                                                         34
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41