Page 49 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 49
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 23
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๒.๓.๒.๒ บทบาทในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ
ที่มีคุณภาพ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีบทบาทในการส่งเสริมและ
คุ้มครอง “สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณภาพ” ซึ่งหมายถึง สิทธิของบุคคลซึ่งรวมกัน
เป็นชุมชน ในการเข้าถึง การมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติที่คงสภาพตามธรรมชาติของป่าไม้ ดิน น้ำา และอากาศ อย่างสมดุลและยั่งยืน
สามารถใช้เป็นปัจจัยในการดำารงชีพตามธรรมชาติของชุมชน ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมหรือ
หมดสิ้นไป กล่าวคือ
๑) ต�มรัฐธรรมนูญแห่งร�ชอ�ณ�จักรไทย พุทธศักร�ช ๒๕๕๐
มาตรา ๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ บัญญัติว่า “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิ
อนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี..... และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำารุงรักษา และการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน” ซึ่งเป็นการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในทรัพยากร
ธรรมชาติของบุคคลที่รวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ที่อาศัยความสมดุล
ยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำาคัญในการดำารงชีพ โดยถือว่าทรัพยากร
ธรรมชาติเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของชุมชน ซึ่งชุมชนย่อมมีความชอบธรรมที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐใน
การจัดการ การบำารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งในแง่ของการเข้าถึงและ
ใช้ประโยชน์ ในการดำารงชีพ และการจัดการ การบำารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความสมดุลและ
ยั่งยืนในการดำารงชีพ ตามภูมิปัญญา วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมในการรักษาฐานทรัพยากรของชุมชน
ท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการดำารงชีพและคุณภาพชีวิตของตน มิให้ทรัพยากรธรรมชาติ
อันเป็นฐานแห่งการดำารงชีพ เสื่อมเสียคุณภาพที่มีมาแต่เดิมกลายเป็นสิ่งหายาก เสื่อมประโยชน์ที่
พึงได้จากการใช้ จนถึงขั้นเกิดกลายสภาพไปเป็นอันตรายแก่ชีวิตและสุขภาพอนามัยของบุคคลหรือ
อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางคุณภาพหรือต่อความสมดุลยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมและเป็นผลเสียแก่ประเทศชาติในระยะยาว
๒) ต�มตร�ส�รระหว่�งประเทศที่รัฐควรดำ�เนินก�ร (Soft Law) :
ปฏิญญ�ว่�ด้วยสิทธิของประช�ช�ติท้องถิ่นดั้งเดิม ค.ศ. ๒๐๐๗
ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของประชาชาติท้องถิ่นดั้งเดิม ได้กล่าวถึง
สิทธิของประชาชาติหรือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่จะอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยรัฐต้องยอมรับ
ถึงความจำาเป็นเร่งด่วนที่จะเคารพและส่งเสริมสิทธิที่มีมาแต่กำาเนิดของประชาชาติท้องถิ่นดั้งเดิม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในที่ดิน ดินแดน และทรัพยากร นอกจากนั้น ข้อ ๒๙ กำาหนดว่า “๑) ประชาชาติ
ท้องถิ่นดั้งเดิมมีสิทธิในการอนุรักษ์และคุ้มครองสภาพแวดล้อมและปริมาณการผลิตของที่ดิน หรือ
ดินแดน และทรัพยากรของตน รัฐจะต้องจัดตั้งและดำาเนินโครงการช่วยเหลือประชาชาติท้องถิ่นดั้งเดิม