Page 44 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 44
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
18 ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
ว่า “การดำาเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้าน
คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำามิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมิน
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน....” โดยดำาเนินการควบคู่ไปกับการ
ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ๔
กระทบสิ่งแวดล้อม” สำานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ธันวาคม ๒๕๕๒) และเนื่องจากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่ง
ของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดทำารายงานจึงผ่านการพิจารณา ตรวจสอบ หรือเห็นชอบตาม
ขั้นตอนของการจัดทำารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) เป็นการศึกษา
๔
เพื่อคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในทางบวกและทางลบจากการพัฒนาโครงการหรือกิจการที่สำาคัญ
เพื่อกำาหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนา
โครงการหรือกิจการ ผลการศึกษาจัดทำาเป็นเอกสารเรียกว่า รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(ที่มา : “ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย” สำานักงานนโยบายและแผนทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมษายน ๒๕๕๓ หน้า ๗)
มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กำาหนด
ในวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำานาจประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา กำาหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน
ที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องจัดทำารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อเสนอขอความเห็นชอบ
ตามมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ ขณะเดียวกัน มาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง ได้กำาหนดว่า ในกรณีที่
โครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา ๔๖ เป็นโครงการ
หรือกิจการซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมาย ก่อนเริ่มการก่อสร้างหรือดำาเนินการให้
บุคคลผู้ขออนุญาต เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำานาจตามกฎหมายนั้น
และต่อสำานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และในวรรคสอง ได้กำาหนดว่า
ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำานาจอนุญาตตามกฎหมายรอการสั่งอนุญาตสำาหรับโครงการหรือกิจการตามวรรคหนึ่ง
ไว้ก่อน จนกว่าจะทราบผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา ๔๙ จาก
สผ. และในมาตรา ๔๘ วรรคสาม กำาหนดให้สำานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สผ.) ตรวจสอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเอกสารที่เกี่ยวข้องที่เสนอมา หากเห็นว่า
รายงานที่เสนอมาไม่ถูกต้องหรือเอกสารไม่ครบถ้วน ต้องแจ้งให้บุคคลผู้ขออนุญาตทราบใน ๑๕ วัน แต่หาก
สผ. พิจารณาเห็นว่า รายงานถูกต้องครบถ้วนหรือแก้ไขแล้ว (วรรคสี่) ให้ สผ.พิจารณาเสนอความเห็นเบื้องต้น
เกี่ยวกับรายงานฯให้เสร็จใน ๓๐ วัน และนำาเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำานาญการ (คชก.)
มาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง กำาหนดให้ คชก.พิจารณารายงานภายใน ๔๕ วัน และถ้าพิจารณาไม่เสร็จตาม
กำาหนดให้ถือว่า คชก. ให้ความเห็นชอบแล้ว ขณะที่วรรคสองกำาหนดว่า ในกรณีที่ คชก.ให้ความเห็นชอบ
หรือถือว่าให้ความเห็นชอบแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำานาจตามกฎหมายสั่งอนุญาตแก่บุคคลซึ่งขออนุญาตได้