Page 51 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 51

ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 25
                                                               รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ






                                            ในนาม  The  Aarhus  Convention  โดยคณะกรรมาธิการสหประชาชาติ

                                            ว่าด้วยเศรษฐกิจยุโรป  (United  Nations  Economic  Commission  for
                                            Europe)

                                      แม้ว่าจะยังไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนรองรับสิทธิใน
                     สิ่งแวดล้อมที่ดีในรูปแบบของอนุสัญญา หรือสนธิสัญญา ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมายซึ่งอาจเรียกว่า

                     ยังไม่มี “Hard Law” ก็ตาม  แต่ความเคลื่อนไหวในเวทีระดับโลกได้มีการพัฒนาแนวคิดและหลักการ

                     ในเรื่องดังกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “Soft Law”  กล่าวคือ  สหประชาชาติซึ่งประกอบด้วย
                     ประเทศสมาชิกต่างๆ ได้รับรองสิทธิดังกล่าวไว้ในเอกสารรูปแบบอื่นที่ไม่ได้ก่อให้เกิดข้อผูกพันทาง
                     กฎหมาย  เช่น  ปฏิญญา (Declaration) แผนปฏิบัติการและมาตรฐานต่างๆ ซึ่งประเทศไทยในฐานะ

                     สมาชิกของสหประชาชาติที่ได้รับรองเอกสารเหล่านั้น  แม้จะไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย (Legal

                     Binding)  แต่ยังคงมีความผูกพันทางการเมือง (Political Commitment) ที่จะต้องดำาเนินการ
                     ให้สอดคล้อง  และ/หรือนำาสาระสำาคัญของเอกสารดังกล่าวมาประยุกต์ใช้  เพื่อการส่งเสริมและ
                     คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ

                                      จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  ประกอบกับเหตุผลในข้อที่ว่า  อำานาจหน้าที่ของ

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ทั้งตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     พุทธศักราช ๒๕๕๐  พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และตามที่

                     ได้รับการรับรองไว้ในหลักการปารีส (Paris Principles)  ในสถานะที่เป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่ง
                     ชาติที่มีความเป็นอิสระ  ทำาให้พิจารณาได้ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีบทบาทใน

                     การนำาอนุสัญญาของภูมิภาคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งมาตรฐาน
                     สากลและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติที่มักอยู่ในรูปของ “ปฏิญญาสากล” มาใช้ประกอบ

                     ในการพิจารณาเพิ่มเติมจากพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็น
                     ภาคีด้วย

                                              ๒)  ต�มตร�ส�รระหว่�งประเทศที่รัฐควรดำ�เนินก�ร  (Soft  Law)  :

                                                  ปฏิญญ�ว่�ด้วยสิทธิในก�รพัฒน�  (Declaration on  the  Right
                                                  to Development)

                                                  “สิทธิในการพัฒนา” หมายถึง สิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจเพิกถอนได้

                     จากมนุษย์ที่บุคคลและประชาชาติมีสิทธิในการมีส่วนร่วม เกื้อกูล และได้รับประโยชน์จากการพัฒนา
                     ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง ที่สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานได้รับการ

                     ประกันอย่างเต็มที่  สิทธิดังกล่าวให้ความสำาคัญกับเรื่องความเป็นธรรม  สิทธิร่วมกันของกลุ่มบุคคล
                     (Collective Right) ที่จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมกัน  จึงเป็นสิทธิที่ทำา

                     หน้าที่เชื่อมโยงบรรดาสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงสิทธิในสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจาก
                     การมีสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมเอื้อต่อการทำาให้สิทธิในการพัฒนาได้เกิดเป็นจริงขึ้นมาและอย่างเป็นธรรม
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56