Page 54 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 54

รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
             28 ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก




                                            ๔)  บทบ�ทเชิงรุกในก�รส่งเสริมสิทธิในก�รมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม

                                               ที่ดีให้เกิดเป็นรูปธรรมในสังคมไทย
                                               เนื่องจาก “สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี” ซึ่งเป็นสิทธิเชิงเนื้อหา ยังไม่ได้

                  รับการบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งในกฎหมายภายในของไทยแต่อย่างใด  ในปัจจุบัน คงมีแต่เพียงการเขียน
                  ไว้ในฐานะที่เป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของเรื่องอื่น ตัวอย่างเช่น บทบัญญัติในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง

                  แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐  หรือการเขียนไว้ในฐานะที่เป็นสิทธิเชิงกระบวนการ
                  ตัวอย่างเช่น บทบัญญัติในมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  พุทธศักราช ๒๕๕๐
                                               โดยอาศัยอำานาจหน้าที่ตามบทบัญญัติ มาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง

                  (๕) (๖) และ (๗) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๑๕ (๑) (๓)
                  (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  คณะกรรมการ

                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถแสดงบทบาทเชิงรุก  ทั้งในฐานะที่เป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  ที่มีความเป็นอิสระตามหลักการปารีส  และในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตามหมวด ๑๑ ของ

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในการส่งเสริมสิทธิในการมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม
                  ที่ดีให้เกิดเป็นรูปธรรมในสังคมไทย
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59