Page 48 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 48
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
22 ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
นอกจากนี้ รัฐภาคียังมีพันธกรณีที่จะต้องดำาเนินการ (Obligations of Conduct) และพันธกรณีที่จะ
ต้องทำาให้เกิดผล (Obligations of Result) อีกด้วย กล่าวคือ นอกจากรัฐจะไม่สามารถเพิกเฉย ละเลย
หรือไม่ดำาเนินการใดๆ ที่เหมาะสมภายในภาวะวิสัยที่จะกระทำาได้แล้ว รัฐยังมีพันธกรณีที่สำาคัญ
กว่านั้น คือ การประกันให้เกิดสิทธิดังกล่าว และต้องดำาเนินการภายในระยะเวลาอย่างสมเหตุสมผล
และโดยไม่ล่าช้า
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญประจำากติการะหว่างประเทศฯ ของ
สหประชาชาติได้ให้ความเห็นว่า แม้กติการะหว่างประเทศฯ ข้อ ๑๒ จะมิได้ระบุคำาจำากัดความของ
คำาว่า “สุขภาพ” ก็ตาม แต่อารัมภบทของธรรมนูญแห่งองค์การอนามัยโลกได้ให้แนวคิดของสุขภาพ
ที่ควรนำามาประกอบการพิจารณาว่า หมายถึง “สุขภาวะด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่มิได้เป็น
เพียงแต่การปราศจากโรคหรือสภาวะแข็งแรงเท่านั้น” แต่สุขภาพยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียกว่า
“ปัจจัยกำาหนดสุขภาวะ (Determinants of Health) ที่เกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะ
ทำาให้บุคคลสามารถดำารงชีวิตได้อย่างมีสุขภาพที่ดี” เช่น การเข้าถึงน้ำาที่สะอาด และน้ำาดื่มได้อย่าง
ทั่วถึงและเป็นธรรม การมีสภาพแวดล้อมที่ดี (Healthy Environment) การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับ
สุขภาพ และที่สำาคัญคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ
สุขภาพ ทั้งในระดับชุมชน ระดับชาติ และระดับระหว่างประเทศ
๔) ต�มข้อมติของสมัชช�สหประช�ช�ติ
สมัชชาสหประชาชาติได้รับรองข้อมติ ที่ ๔๕/๙๔ ว่า “บุคคล
ทุกคนมีสิทธิที่จะดำารงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี” ทั้งยังได้รับรอง
ข้อมติ ที่ ๕๔/๑๗๕ ยืนยันว่า “สิทธิในอาหารและน้ำาสะอาดเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” และการ
ส่งเสริมสิทธิดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่จำาเป็นต้องดำาเนินการในเชิงจริยธรรมทั้งรัฐบาลและประชาคมระหว่าง
ประเทศ โดยนัยดังกล่าว รัฐจึงมีพันธกรณีอย่างต่อเนื่องที่จะต้องดำาเนินการที่จะให้ “สิทธิในสุขภาพ”
ของบุคคลได้เกิดขึ้นเป็นจริง และไม่อยู่ในสภาวะถูกคุกคาม เช่น การป้องกันการกระทำาที่ก่อให้เกิด
มลพิษหรือมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แหล่งอาหาร แหล่งน้ำา แหล่งที่อยู่อาศัย หรือป้องกัน
มิให้มีการปิดบังข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เป็นต้น
๕) ต�มสนธิสัญญ�ด้�นสิทธิมนุษยชนอื่นที่ประเทศไทยเป็นภ�คี
นอกจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และข้อมติของสมัชชา
สหประชาชาติแล้ว สิทธิในสุขภาพและสิทธิอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับสิทธิในสุขภาพยังระบุไว้ในอนุสัญญา
อื่นๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอีกด้วย เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
เมือง ข้อ ๖ (๑) ซึ่งกล่าวถึง “สิทธิในการมีชีวิต” หรืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ ๒๔ ซึ่งประกัน
ว่าเด็กมีสิทธิที่จะได้รับมาตรฐานสาธารณสุขที่สูงที่สุดเท่าที่รัฐภาคีจะทำาได้ และจะดำาเนินมาตรการ
ที่จำาเป็นเพื่อประกันสิทธิดังกล่าว และคำานึงถึงอันตรายและความเสี่ยงจากมลภาวะแวดล้อม เป็นต้น